คลื่นความถี่วิทยุถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีอย่างจำกัด ซึ่งจะถูกใช้งานกับรูปแบบของการสื่อสารไร้สาย โทรศัพท์มือถือ วิทยุการบิน การเดินเรือ และควบคุมการสื่อสารดาวเทียมคลื่นความถี่วิทยุ ถูกใช้เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่หลากหลายและการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ ภาครัฐและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล รวมถึงการสื่อสารทางวิทยุและโทรทัศน์ จากการที่การสื่อสารคมนาคมมีการเติบโต และความต้องการบริการด้านข้อมูลที่มากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการที่จะใช้คลื่นความถี่มากขึ้นตามไปด้วยทั้งภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน เพราะเวลาที่ใช้คลื่นความถี่สื่อสารระหว่างกันสัญญาณที่เกิดขึ้นพร้อมกันและในสถานที่เดียวกันสามารถรบกวนการทำงานของคลื่นอื่นๆที่กำลังใช้งานอยู่ได้ คลื่นความถี่จึงต้องมีการจัดการเพื่อป้องกันปัญหาสัญญาณรบกวน ซึ่งขั้นตอนการจัดการรวมถึงการจัดตั้งโครงสร้างการกำกับดูแลคลื่นความถี่มักจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการที่จะกำกับดูแล และดำเนินการพัฒนาการใช้คลื่นความถี่ จัดสรรคลื่นความถี่ กำหนดกฎระเบียบในการให้บริการ กำหนดกลุ่มของผู้ที่จะจัดสรรให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละประเภท และกำกับดูแลให้ผู้ที่ขอใช้คลื่นความถี่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด
การบริหารจัดการคลื่นความถี่ในระดับสากล
เนื่องจากคลื่นความถี่วิทยุเป็นทรัพยากรสาธารณะ รัฐบาลจะเป็นผู้เข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเพื่อให้แน่ใจว่าได้ถูกใช้งานร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสะดวกในการใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน และใช้เพื่อความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งในระดับสากลคลื่นความวิทยุถี่จะถูกกำหนดขึ้นโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU โดยที่ภายใน ITU ก็จะแบ่งเป็นส่วนเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นRediocommunication Sector (ITU - R) ทำหน้าที่ปรับปรุงตารางคลื่นความถี่โดยกำหนดคลื่นความถี่ออกเป็น 40 ประเภทสำหรับบริการไร้สาย โดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกันของสัญญาณ และเมื่อมีการประกาศใช้ตารางคลื่นความถี่วิทยุแล้ว ในแต่ละประเทศก็จะจัดสรรคลื่นความถี่ในการให้บริการประเภทต่างๆ และกำหนดตารางคลื่นความถี่ในประเทศของตนเอง โดยที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของตารางคลื่นความถี่ของ ITU ด้วย ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งตารางคลื่นความถี่สากล ออกเป็น 3 เขต 1. เขตยุโรปและแอฟริกา 2. เขตอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ 3. เขตเอเชียและออสเตรเลีย ซึ่ง ITU - R ยังได้พยายามที่จะดำเนินการมิให้เกิดสัญญาณรบกวนกันระหว่างสถานีวิทยุของประเทศต่างๆ และเพื่อปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ดาวเทียมค้างฟ้าสำหรับวิทยุสื่อสาร นอกจากนี้ ITU - R ยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประชุม World Radio Communication Conferences หรือ WRC ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 2-3 ปี เพื่อปรับปรุงตารางคลื่นความถี่ให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่มากขึ้น ส่วนในด้านการพัฒนาก็จะมี Development Sector หรือ ITU-D ที่มุ่งเน้นไปที่ความต้องการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศกำลังพัฒนาและในบางครั้งก็จะมีส่วนร่วมในการช่วยประเทศเหล่านั้นในการกำหนดคลื่นความถี่ที่จะใช้งานให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศด้วย
การบริหารจัดการคลื่นความถี่ในระดับทวิภาคี และ พหุภาคี
การจัดสรรคลื่นความถี่ถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการเมืองแม้แต่องค์กรระดับภูมิภาคที่พยายามจะเข้าไปมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนธันวาคมปี 2001 สหภาพยุโรปได้มีกำหนด “กรอบนโยบายและข้อบังคับสำหรับคลื่นความถี่วิทยุในกลุ่มประเทศยุโรป”โดยมีการกำหนด 5 หัวข้อที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับโทรคมนาคม เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล, การให้บริการที่ครอบคลุม, การป้องกันข้อมูล เป็นต้น ซึ่งถือว่าเรื่องเหล่านี้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ (National Regulatory Authorities) ในยุโรปที่จะกำกับดูแล และเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวนโยบายในการตัดสินใจใช้คลื่นความถี่ ได้มีการเรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย และใช้งานคลื่นความถี่ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่ง และการวิจัยพัฒนา ซึ่งในการตัดสินใจ จะต้องกำหนดขั้นตอนให้สะดวกสำหรับการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ ความปลอดภัย ประโยชน์ของประชาชน เสรีภาพในการแสดงออก ด้านวัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคม และเทคนิคในการกำหนดนโยบาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ การใช้คลื่นความถี่ไม่ให้มีอันตรายและข้อขัดข้องของสัญญาณรบกวน โดยมีคณะกรรมการคลื่นความถี่วิทยุซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนด้านโทรคมนาคมให้กับคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีการกล่าวว่าหนึ่งในเป้าหมายหลักในการตัดสินใจ คือ การหลีกเลี่ยงวิธีการให้ใบอนุญาตสำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือของประเทศในสหภาพยุโรปที่มีความแตกต่างกันในอดีต อย่างไรก็ตามในขณะที่การตัดสินใจเป็นอำนาจของคณะกรรมการยุโรปในการจัดสรรคลื่นความถี่ทั่วไป แต่จะไม่มีอำนาจที่จะให้ใบอนุญาต หรือเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกนั้นๆที่จะออกใบอนุญาตเอง
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการตรากฎหมายการสื่อสารขึ้นในปี ค.ศ.1934 โดย FCC (Federal Communication Commission) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของรัฐ โดยกำกับดูแลเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของรัฐบาลกลาง และไม่ใช่รัฐบาลกลาง เช่น องค์กรเชิงพาณิชย์ องค์กรของรัฐส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งประธานาธิบดี ใช้อำนาจในหารบริการจัดการคลื่นความถี่ผ่านทางองค์กรของรัฐบาลกลาง ประธานาธิบดีจะมอบหมายให้ผู้แทนคือผู้ช่วยเลขานุการด้านการสื่อสารข้อมูลเศรษฐกิจ เป็นผู้อำนวยการ National Telecommunications and Information Administration หรือ NTIA ซึ่งสำนักงาน NTIA จะส่งผู้แทนในนามรัฐบาลสหรัฐเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติ เช่น การประชุม ITU (เช่นการประชุมโลกสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุ) พร้อมด้วย FCCและหน่วยงานรัฐบาลกลางอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมด้วย สำนักงาน NTIA มีหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ พัฒนานโยบาย และกำหนดขั้นตอนสำหรับการใช้คลื่นความถี่ภายในประเทศของรัฐบาลกลางนำมาซึ่งการพัฒนาแผนระยะยาว สงคราม และการวางแผนการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานคลื่นความถี่และแต่งตั้งประธาน IRAC (Interdepartmental Radio Advisory Committee)
NTIA มุ่งมันที่จะปรับปรุงคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพ โดยได้มีความต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานของส่วนกลางสามารถใช้งานบริการเชิงพาณิชย์จากที่ใดก็ได้ ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาแผนจัดสรรคลื่นความถี่ และเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานคลื่นความถี่สำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลาง เนื่องจากคลื่นความถี่ที่ใช้ร่วมกันมีจำนวนมากระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน NTIA และ FCC จึงจะต้องมีการทำงานที่มากขึ้นเนื่องจากภาคเอกชนที่มีการใช้คลื่นความถี่ร่วมกันมาก
FCC ได้แยกประเภทคลื่นความถี่ของการให้บริการต่าง ในเชิงพาณิชย์ และกำหนดสิทธิ์ถือครองคลื่นความถี่สำหรับบริการนั้นๆ ซึ่งการอนุมัติคลื่นความถี่เหล่านี้จะต้องมีขั้นตอนการดำเนินการคือจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงคลื่นความถี่ให้ดีขึ้น FCC จะให้ใบอนุญาตใช้คลื่นโดยพิจารณาจากกิจการหรือบุคคลที่จะใช้คลื่นความถี่เป็นการเฉพาะราย ซึ่งใบอนุญาตสามารถกำหนดใช้งานเฉพาะสถานที่และข้อจำกัดทางเทคนิคหรือกรอบระยะเวลาในการที่จะให้บริการที่ครอบคลุม ซึ่งในการตัดสินใจให้ใบอนุญาตนั้น FCC จะพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนและประโยชน์ที่จะได้จากการให้บริการ ลักษณะเฉพาะของคลื่นความถี่ที่ได้รับ รวมถึงความเข้ากันได้ทั้งภายในและภายนอกของการเลือกใช้ย่านความถี่ จำนวนของคลื่นความถี่ ข้อจำกัดของสัญญาณและข้อจำกัดของอุปกรณ์ FCC เป็นหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นอิสระ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะควบคุมภาคเอกชนและอุตสาหกรรมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และลดแรงกดดันจากทางการเมือง
ประเทศแคนาดา
ในประเทศอื่น ๆ มีวิธีการจัดการคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามด้วยทางเลือกเหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ และวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลื่นความถี่และน่าสนใจที่จะทำการศึกษา นัยสำคัญของความแตกต่างในการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างสหรัฐและรัฐบาลต่างประเทศ เมื่อเทียบกับการจัดสรรคลื่นให้กับภาครัฐและเอกชนนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาโดย FCC ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้บริหารจัดการคลื่นความถี่ทั้งหมด ซึ่งในประเทศส่วนใหญ่คลื่นความถี่ทั้งสองแบบ จะถูกจัดการโดยหน่วยงานอิสระ ในขณะที่ของ FCC เป็นอิสระจากการเมือง ซึ่งในต่างประเทศก็จะมีขั้นตอนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ในระดับที่แตกต่างและเป็นอิสระจากอำนาจการบริหาร ตัวอย่างเช่นรัฐบาลแคนาดาจะมีหน่วยงานที่มีอำนาจการในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เรียกว่า Industry Canada ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารคลื่นความถี่ทั้งหมดทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีหน่วยงานภายในที่เรียกกว่า SITT (Spectrum, Information Technology and Telecommunications) ซึ่ง SITT จะจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการการกระจายเสียง, ผู้ประกอบการ และผู้ถือใบอนุญาตวิทยุ และคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของแคนาดาในการใช้คลื่นความถี่ผ่านข้อตกลงและกำกับดูแลระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามใบอนุญาตการออกอากาศจะมีการจัดการโดยองค์กรกำกับดูแลที่เรียกว่า Canadian Radio-Television and Telecommunication Commission หรือ CRTC ซึ่ง CRTC มีหน้าที่ควบคุมและดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของประเทศแคนาดา เช่นเดียวกับ การกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ให้บริการทั่วๆไป ซึ่งรวมถึงการให้ใบอนุญาตและขยายใบอนุญาตสำหรับหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่ในการกระจายเสียง
ขณะที่ระบบของประเทศแคนาดามีหนึ่งหน่วยงานที่จัดการคลื่นความถี่ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสหรัฐฯ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งคือคลื่นความถี่จำนวนมากของใบอนุญาตออกอากาศ และปัญหาในขั้นตอนของ CRTC เช่น การเปลี่ยนไปใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอลสำหรับแบบ over - the - air จะต้องมีการเรียกคืนและจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับสถานีโทรทัศน์ และรัฐบาลจะต้องกระจายใบอนุญาตการออกอากาศ คล้ายกับการประสานงานระหว่าง FCC และ NTIA ของสหรัฐ แต่การประสานงานกันระหว่าง SITT และ CRTC เกี่ยวกับออกใบอนุญาตในลักษณะนี้จะทำได้ยากกว่า
สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักร ในขณะนี้ได้มีก่อตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทางในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ ซึ่ง ณ ตอนนี้ การจัดการคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ไม่ใช่ของทหารในประเทศสหราชอาณาจักรถูกดำเนินการโดยหน่วยงานวิทยุคมนาคมของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Department of Trade and Industry) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดสรรคลื่นความถี่ และการอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ รวมทั้งการตรวจสอบเฝ้าระวังการรบกวนและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากในทางกฎหมายและการบริการไม่ได้แยกหน่วยงานเหมือนกับหน่วยงานในประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้กฎหมายในปัจจุบันจะต้องมีการดำเนินการผ่านรัฐสภา โดยเรียกหน่วยงานใหม่ว่า Office of Communications (OFCOM) โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเนื้อหาการกำกับดูแล รวมถึงการบริหารจัดการคลื่นความถี่ The UK Office of Telecommunications (OFTEL) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมซึ่งรวมถึงการส่งสัญญาณออกอากาศของประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งผู้ดูแล OFTEL จะได้รับการแต่งตั้งโดยเลขาธิการของรัฐด้านการค้าและอุตสาหกรรม นอกจากนี้จะเป็นอิสระจากการควบคุมของกระทรวง
หน่วยงาน OFCOM ที่ตั้งขึ้นใหม่จะมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารกว่า OFTELและจะรวมการทำงานของคณะกรรมการมาตรฐานการกระจายเสียง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับการแพร่ภาพโทรทัศน์, OFTEL, กรมวิทยุ และหน่วยงานวิทยุคมนาคม สหราชอาณาจักรได้กำหนดกลยุทธ์เกี่ยวกับคลื่นความถี่ใหม่ รวมถึงการใช้กลไกการตลาด เช่น การกำหนดราคาคลื่นความถี่ (เก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้คลื่นความถี่ทำให้สะท้อนถึงมูลค่าของคลื่นความถี่ ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1998) และการค้าคลื่นความถี่ (การซื้อขายในตลาดรอง เช่น การเช่าคลื่นความถี่โดยเจ้าของย่านความถี่) ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักร เริ่มใช้ในปลายปี ค.ศ. 2002
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น