ฌอง คาลาส (Jean Calas) เกิดในราวปี ค.ศ. 1698 เป็นพ่อค้าชาวเมืองตูลูสประเทศฝรั่งเศสมีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นเหยื่อของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเขาเป็นผู้นับถือคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) ในประเทศฝรั่งเศส เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความอดทนต่อศาสนาคริสต์ควบคู่กับ Jean-François de la Barre และ Pierre-Paul Sirven
คาลาสและภรรยาเป็นชาวโปรเตสแตนต์
ซึ่งในประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแคทอริกและมีการกดขี่ข่มเหงผู้นับถือศาสนาโปรเตสแตนต์อย่างหนัก
โดยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าเริ่มลดการกดขี่ดังกล่าวลง ชาวโปรเตสแตนต์ก็สามารถอดทนได้ในสภาวการณ์ดังกล่าว
บุตรชายของคาลาสชื่อ หลุยส์ได้เปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอริกในปี ค.ศ. 1756 ในราววันที่ 13 – 14 ตุลาคม
ค.ศ. 1761 บุตรชายอีกคนหนึ่งของคาลาสชื่อ มาร์ก
แอนโทนีถูกพบว่าเสียชีวิตอยู่บนพื้นภายในบ้าน ข่าวลือแพร่สะพัดว่าคาลาสได้ฆ่าบุตรชายของตนเองเพราะมาร์ก
แอนโทนีประสงค์ที่จะเปลี่ยนการนับถือศาสนาเป็นคาทอริกด้วย
ครอบครัวจึงถูกสอบสวนในข้อหาฆาตกรรมโดยรัฐ ต่อมาตำรวจก็ประกาศว่ามาร์ก
แอนโทนีถูกพบว่าเสียชีวิตและถูกแขวนเพราะการอัตนิบาตกรรมถือเป็นความผิดที่น่าเกลียดชังในยุคนั้น
และสภาพของศพที่พบก็สกปรกมอมแมม ดังนั้น ครอบครัวคาลาส
จึงจัดฉากศพลูกชายให้ดูเหมือนเป็นคดีฆาตกรรมแทน ในวันที่ 9 มีนาคม
ค.ศ. 1762 ศาลอุทธรณ์ (parlement) ของเมืองตูลูสตัดสินประหารชีวิตคาลาส
ในวันที่ 10 มีนาคม ในวัย 64 ปี
คาลาสเสียชีวิตอย่างทรมานบนกงล้อในขณะที่ครอบครัวยืนยันว่าบริสุทธิ์
วอแตร์ได้รับทราบข่าวคดีดังกล่าวหลังจากเริ่มสงสัยว่าคาลาสถูกพิพากษาว่าผิดในฐานพวกคลั่งที่ต่อต้านศาสนา
จึงเริ่มรณรงค์ให้มีการรื้อฟื้นคดีและทบทวนคำพิพากษา ในที่สุดความพยายามของวอร์แตร์ประสบความสำเร็จในช่วงต่อมา
โดยมีการแต่งตั้งผู้พิพากษาจำนวน 50 คนเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีใหม่ ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1765 คาลาสที่น่าสงสารก็ได้รับการล้างมลทินความผิดในทุกข้อหา
คาลาสจึงได้รับความยุติธรรม ดังนั้น การตายของคาลาสสะท้อนถึงความอคติของผู้พิพากษา ความเกลียดชังและอิทธิพลของความคลั่งศาสนาในสังคม คาลาสเป็นแพะรับบาปที่สังคมต้องการลงโทษอยู่แล้ว คดีนี้จึงนิยมใช้เรียนในวิชาปรัชญาและกฎหมายในประเทศตะวันตกหลายประเทศที่ต้องการสื่อให้เห็นการตัดสินโทษคนจากการรับฟังกระแสสังคมอาจก่อให้เกิดความอยุติธรรม วอแตร์ได้เขียนหนังสืออันเลืองชื่อเพื่อสะท้อนประเด็นดังกล่าวในหนังสือเรื่อง Treaties on Tolerance
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น