ในบทความนี้ได้สรุปเกณฑ์หลักที่นิยมใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดังนี้
ภาวะผู้นำในด้านนโยบาย (Policy leadership)
ประธานาธิบดีต้องทำนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศ โดยทั่วไปประธานาธิบดีต้องแถลงนโยบายในการปราศรัยครั้งแรกเมื่อเข้ารับตำแหน่ง การแถลงผลงานประจำปีประจำปี ซึ่งการแถลงนโยบายดังกล่าวมีความสำคัญในทางการเมืองค่อนข้างมากเพราะประธานาธิบดีและทีมงานจะต้องต่อสู้เพื่อชัยชนะในการสร้างความนิยมและต้องขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวที่อาจมาจากนโยบายการหาเสียงหรือที่รับปากไว้กับประชาชนไปสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อผลักดันให้นโยบายดังกล่าวไปสู้การปฏิบัติ โดยอาจปรากฏในรูปของกฎหมายหรือการของบประมาณ ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมักจะระมัดระวังในการบริหารหรือจัดการกับรัฐสภา เนื่องจากหากผลักดันมากไป รัฐสภาอาจต่อต้าน และมีแนวโน้มจะไม่ประสบความสำเร็จสูง เช่น กรณีของประธานาธิบดีแอนดรูส จอห์นสัน และประธานาธิบดีริชารด์ นิสัน ซึ่งไม่สามารถจัดการหรือมีสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกรัฐสภาได้ ก็จะประสบปัญหาในการบริหารงาน และนโยบายสาธารณะส่วนใหญ่ที่รัฐบาลผลักดันล้มเหลวในรัฐสภา รัฐสภาไม่ให้ความร่วมมือในการออกกฎหมายและนโยบายสาธารณะ ในทางกลับกันหากประธานาธิบดีท่านใดมีความสามารถในการจัดการหรือหว่านล้อมสมาชิกรัฐสภาได้ ก็จะประสบความสำเร็จในการบริหารงาน ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดี George H. Bush สามารถผ่านกฎหมายได้มากมาย แม้ว่าพรรคฝ่ายค้านจะกุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร์
ดังนั้น ความสามารถในภาวะผู้นำจึงมีความสำคัญกับประธานาธิบดีที่จะประสบความสำเร็จในการบริหารงาน ซึ่งทักษะของประธานาธิบดีในการบริหารจัดการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องยิ่งมีมากก็มีแนวโน้มว่ารัฐสภาจะผ่านกฎหมายให้ง่ายด้วย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานาธิบดี ในยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ เกณฑ์สำคัญในด้านนโยบายสาธารณะอีกประการหนึ่งคือ การพิจารณาว่ากฎหมายที่เสนอโดยประธานาธิบดีมีผลกระทบของนโยบายเกี่ยวกับความเท่าเทียมในสังคมมากน้อยเพียงใดและอย่างไร กล่าวคือ หากนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลสนับสนุนส่งประโยชน์แก่คนกลุ่มน้อยและคนยากจน ก็จะทำให้ประธานาธิบดีมีอันดับคะแนนสูงขึ้น
การบริหารในภาวะวิกฤต (Crisis management)
โดยทั่วไปสาธารณะชนมองประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพราะจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อสภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ดีหรือเลวร้าย ประธานาธิบดีที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีโครงการที่สามารถกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้ หากมีความจำเป็น และต้องสามารถฟันฝ่าไปได้ หากล้มเหลวก็จะไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ เช่น ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์และประธานาธิบดีจอรจ์ เฮช บุช ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาตกต่ำ ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจเติบโตสามารถช่วยให้ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง แม้ว่าจะมีเรื่องเอื้อฉาวส่วนตัวเกิดขึ้น อย่างเช่นกรณีของประธานาธิบดี บิล คลินตัน
การบริหารในภาวะวิกฤตยังสะท้อนสภาวะวิกฤตระหว่างประเทศด้วย แนวทางที่ประธานาธิบดีดำเนินนโยบายกับวิกฤตต่างประเทศมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสาธารณะและอันดับในการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะ ประธานาธิบดีลินคอนและประธานาธิบดีรูสเวสมักจะได้รับการจัดอันดับห้าอันดับแรก เพราะมีความสามารถในการบริหารภาวะวิกฤติ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ประธานาธิบดีลินคอนมีนโยบายสำคัญในการใช้กำลังในระหว่างสงครามภายในประเทศและรักษาสหภาพไว้ ส่วนประธานาธิบดีรูสเวสเสนอนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามโลกและเปลี่ยนให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศมหาอำนาจในเวลาต่อมา ส่วนประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสันไม่สามารถจัดการกับความขัดแย้งในเวียดนาม การขาดความสามารถดังกล่าวทำให้อันดับต่ำ แม้ว่าจะประสบความสำเร็จกิจการภายในประเทศ สำหรับประธานาธิบดีจอร์จ บุชแม้ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการสำรวจในปี ค.ศ. 2001 แต่สามารถเปลี่ยนเป็นผู้บริหารที่สามารถจัดการวิกฤตการณ์ได้ดีหลังจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในปี ค.ศ. 2001 และทำให้ได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง
การใช่อำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของประธานาธิบดี (Presidential appointments)
ความสามารถในการปฏิบัติงานของประธานาธิบดีสามารถถูกวัดได้จากบุคคลที่ประธานาธิบดีเลือกหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในการประเมินผลนี้รวมถึงการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุดและรัฐมนตรี ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีฮาร์ดดิ่งและประธานาธิบดีแกรท์ทำลายตนเองด้วยการแต่งตั้งบุคลากรที่ไร้ความสามารถ คอรัปชั่น และสร้างความขัดแย้ง การแต่งตั้งบุคลากรที่ดีมีความสามารถสะท้อนภาพที่ดีของประธานาธิบดี เช่น การแต่งตั้งศาสตราจารย์เฮนรี่ คิสซิงเจอร์เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีของประธานาธิบดีนิกสัน ปัจจุบันนี้ มีการเพิ่มเกณฑ์ของความหลากหลายของการแต่งตั้งบุคลากรที่ทำงานให้กับประธานาธิบดี กล่าวคือการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลของประธานาธิบดีควรสะท้อนองค์ประกอบของเชื้อชาติของประเทศ โดยเฉพาะการแต่งตั้งตัวแทนหรือผู้สนับสนุนคนกลุ่มน้อยในสังคมรวมทั้งผู้หญิงในการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ซึ่งทั้งประธานาธิบดีคลินตันและประธานาธิบดีบุชทำได้ดีในสิ่งเหล่านี้
จุดยืนในนโยบายต่างประเทศ (Foreign standing)
นโยบายต่างประเทศเป็นเกณฑ์ในการประเมินประธานาธิบดีในภายหลัง ในช่วงยุคก่อนศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาแยกตัวเองโดดเดี่ยวในโลก แต่หลังจากประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวทท์ที่เริ่มมีบทบาทอย่างกระตือรือร้นในกิจการต่างประเทศ นโยบายต่างประเทศจึงกลายเป็นงานหลักของประธานาธิบดี ปัจจุบันนี้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาต้องมีนโยบ่ายที่ชัดเจนในด้านความสัมพันธ์กับประเทศสำคัญ ซึ่งนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศสำคัญของสหรัฐอเมริกาและนโยบายต่างประเทศที่ประเทศอื่นมีต่อสหรัฐอเมริกากลายเป็นเกณฑ์สำคัญ อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าในบางครั้งนโยบายต่างประเทศอาจประสบความสำเร็จแต่นโยบายภายในประเทศอาจล้มเหลวก็ได้ เช่น ประธานาธิบดีนิกสันมักได้คะแนนต่ำในหลายเกณฑ์ แต่เกณฑ์ด้านการต่างประเทศถือว่าประสบความสำเร็จมาก จึงทำให้ประธานาธิบดีนิกสันถูกจัดอันดับอยู่กลาง ๆ หรือกรณีของประธานาธิบดีจอร์จ เฮช บุช เป็นประธานาธิบดีที่เก่งด้านการต่างประเทศ ในช่วงการล่มสลายของสหภาพโซเวีย ชนะสงครามอ่าว และกองกำลังทหารควบคุมหลายพื้นที่ แต่นโยบายบริหารกิจการภายในประเทศย่ำแย่
คุณลักษณะและความซื่อสัตย์ (Character and integrity)
คุณลักษณะเรื่องบุคลิกภาพและความซื่อสัตย์มีความสำคัญในการประเมินผลประธานาธิบดีกล่าวคือ ประธานาธิบดีที่ส่งเสริมการคอรัปชั่น โกหกต่อประชาชน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวมักได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าประธานาธิบดีที่ซื่อสัตย์ ประธานาธิบดีนิกสันได้ทำลายเกียรติยศประธานาธิบดีด้วยเรื่องอื้อฉาวกรณีวอเตอร์เกต ส่วนคลินตันมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัวและโกหกต่อสาธารณชน ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีที่ไม่ประสบความสำเร็จในตำแหน่ง เช่น ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สามารถกู้ชื่อเสียงและยกระดับขึ้นเพราะมีความเป็นนักสิทธิมนุษยชนที่แท้จริง ประธานาธิบดีเจมส์ พอสก์เป็นคนที่ซื่อสัตย์และอุทิศตน ทำงานหนักจนกระทั่งเสียชีวิต ไม่มีเรื่องเสื่อมเสียในระหว่างดำรงตำแหน่งและรักษาสัญญาที่จะไม่ลงรับสมัครรับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
บุคลิกภาพชักจูงใจสาธารณะ (Public persuasion)
ความสามารถในการจูงใจประชาชนให้เห็นคล้อยตามความความเห็นถือเป็นหนึ่งในอาวุธที่ทรงพลานุภาพในการเป็นประธานาธิบดี และมักเป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีปรารถนามากที่สุด ซึ่งหากประธานาธิบดีที่ประสบความสำเร็จในการจูงใจประชาชนจะมีผลต่อตำแหน่งการจัดอันดับค่อนข้างมาก ตัวอย่างของประธานาธิบดีที่มีความสามารถในการโน้มน้าวใจคน มีดังนี้
• ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวทท์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่และอิทธิพลในฐานะประธานาธิบดีในการจูงใจให้ประชาชนคล้อยตามความเห็นของตน มีความสามารถจูงใจให้รัฐสภาผ่านร่างกฎหมายของตน แม้ว่าจะมีผู้ไม่เห็นด้วยในรัฐสภา
• ประธานาธิบดีแฟรทคริน รูสเวทท์มีความจริงใจต่อประชาชนในการพูดตรง ๆ และไม่เพียงแต่ได้รับการหนุนหลังจากประชาชนยังได้รับการสนับสนุนจากการออกกฎหมายพันธะสัญญาใหม่
• ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน มีฉายาผู้สื่อสารที่ยิ่งใหญ่ (Great Communicator) เพราะมีความสามารถพิเศษในการเชื่อมต่อกับประชาชน ประชาชนพอใจกับเรแกนในการบริหารกับประชาชนทั่วไป การชื่นชมเปลี่ยนเป็นการสนับสนุนในนโยบาย รัฐสภาออกฎหมายตามวาระของเรแกนเพราะประชาชนสนับสนุน ไม่ใช่เพราะรัฐสภาเห็นชอบกับเรแกนและข้อเสนอร่างกฎหมาย
ประธานาธิบดีอื่นไม่ได้ให้ความสำคัญ ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์มีประสบการที่ยากลำบากในการสื่อสารปับประชาชน วาระจำนวนมากไม่สามารถผ่านรัฐสภาได้ แม้พรรคจะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา ซึ่งประธานาธิบดีนิกสันล้มเหลวในทำนองเดียวกัน
วิสัยทัศน์ (Presidential vision)
ประธานาธิบดีสหรัฐบางคนเข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่มีวิสัยทัศน์ว่าควรจะประสบความสำเร็จในสิ่งใดบ้างในฐานะประธานาธิบดี ซึ่งส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการเป็นประธานาธิบดี หากปราศจากแผนแม่บทหรือนโยบายที่ดี ประธานาธิบดีด้วยความช่วยเหลือของรัฐสภาสามารถเอาชนะและสร้างนโยบายสาธารณะให้กับประเทศ ประธานาธิบดีที่ประสบความสำเร็จมักมีวิสัยทัศน์ โดยเปลี่ยนอเมริกา เช่น ประธานาธิบดีรูสเวทต้องการนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการคุ้มครองประชาชนอเมริกาจากผลกระทบเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือประธานาธิบดีเรแกนต้องการรื้อฟื้นซ่อมแซมสหรัฐอเมริกาไปสู่ความยิ่งใหญ่และมีนโยบายลดขนาดของรัฐบาล ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าวประธานาธิบดีต้องมีความกระตือรือร้นและพยายามผลักดันวาระของตนเอง แม้ว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จแต่ยังคงได้รับเครดิตที่มีวิสัยทัศน์ ประธานาธิบดีที่ไม่มีวิสัยทัศน์จะไม่ประสบความสำเร็จใด ๆ เลย เพราะไม่มีอะไรที่เขาต้องการจะประสบความสำเร็จ
ดังนั้น การเข้าใจและประเมินประธานาธิบดีนำไปสู่ปัญหาเพราะมีประธานาธิบดีเพียงหนึ่งคนที่อยู่ในตำแหน่งแต่ละช่วงเวลา และแต่ละคนประสบปัญหาและความท้าทายที่แตกต่างกัน นักวิชาการเรียกว่าเป็นปัญหาเอกบุรุษกับที่เหลือ (one-n problem) เพราะสถานการณ์ของประธานาธิบดีมีผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จและล้มเหลวได้ การกำหนดว่าประธานาธิบดีดีหรือเลวเป็นสิ่งยาก โดยเฉพาะเมื่อต้องเปรียบเทียบ มีเพียงประธานาธิบดีรูสเวทที่เป็นประธานาธิบดีในช่วงที่มีการโจมตีเพริลฮาร์เบอร์ ประธานาธิบดีลิงคอนเป็นประธานาธิบดีในช่วงสงครามกลางเมือง ยากที่จะตัดสินหากให้สลับกัน
ปัจจัยที่มีส่วนต่อความสำเร็จหรือล้มเหลว (Factors Contributing to Success and Failure)
มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของประธานาธิบดี
• ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง (Strong leadership) ความสามารถฝนการให้ผู้คนสนับสนุน
• รัฐสภา ความสามารถในการควบคุมและจูงใจสมาชิกรัฐสภา
• ความนิยม ความสามารถในการชักจูงใจผู้อื่นให้กระทำตามที่ประสงค์
การวิเคราะห์การตัดสินใจ (Decision-Making Analysis)
การวิเคราะห์การตัดสินใจเปิดเผยวิธีการและสถานการณ์ภายใต้การตัดสินใจที่สำคัญ เช่น การตัดสินใจวิกฤตการณ์นิวเคลียส์ของคิวบา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ความเข้าใจในการตัดสินใจทำในวงในของรัฐบาล มีสามรูปแบบที่อธิบายกระบวนการตัดสินใจ
• ตัวแบบคนที่มีเหตุผล (The rational actor model): ผู้มีอำนาจตัดสินใจกระทำภายใต้เหตุผล โดยมีการรวบรวมเอกสารหลักฐาน มีการชั่งน้ำหนักทางเลือก และเลือกแนวทางที่มีการพิจารณา
• ตัวแบบกระบวนการองค์การ (The organizational process model): โครงสร้างขององค์การมีผลต่อการตัดสินใจ
• ตัวแบบการเมืองราชการ (The bureaucratic politics model) : ผู้นำของหน่วยงานที่แตกต่างกันมีการแข่งขันระหว่างกัน และจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ
• ตัวแบบการคิดแบบกลุ่มที่มุ่งเน้นว่าพลวัตรของกลุ่มมีผลต่อผลลัพธ์ของการตัดสินใจ ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง สมาชิกในกลุ่มมีอิทธิพลต่อการให้เหตุผลที่ผิดพลาดกับอีกคน ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิด
การวิเคราะห์ทางจิตวิทยา (Psychological Analysis)
แนวทางจิตวิทยามองหาความเข้าใจการกระทำภายในของจิตใจประธานาธิบดีและวิธีการที่มีผลต่อการตัดสินใจ รายการทางจิตวิทยามีความง่าย แต่มีการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับบุคลิกภาพของประธานาธิบดี ประธานาธิบดีควรถูกประเมินว่าบทบาทที่กระตือรือร้นของประธานาธิบดีในการเริ่มนโยบาย (กระตือรือร้นหรือเฉื่อยชา) และวิธีการที่มองตนเองและสถานะในฐานะประธานาธิบดี (ในด้านบวกหรือลบ) การวมตัวแปรทั้งสองด้วยกันจะได้ภาพของประธานาธิบดีสี่แบบ passive-positive, passive-negative, active-positive, และ active-negative กล่าวคือประธานาธิบดี active-positive มีแนวโน้มเป็นดีมาก ส่วน active-negative อาจเป็นสิ่งเลวร้าย
การเปรียบเทียบในแง่ประวัติศาสตร์
นักวิชาการบางคนเปรียบเทียบประธานาธิบดีจากบทบาทที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น บางคนเห็นว่าประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวทท์มีบทบาที่สำคัญเพราะมีชื่อเสียงในการโต้วาที บางคนเห็นว่าสิ่งที่ยั่งยืนที่มีผลกระทบต่อประธานาธิบดีคือการศึกษาว่าประธานาธิบดีจะเอาตัวรอดได้อย่างไร ซึ่งประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวทท์มีความสำคัญในแง่ว่านโยบายพันธะสัญญาใหม่ (new deal) ยังคงมีผลอยู่จนปัจจุบันและยังคงได้รับการกล่าวขานถึงอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น