1. หน่วยงานภาครัฐมีสองหน่วยงานหลัก คือ
- กระทรวงยุติธรรม
(Department of Justice) กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายอาญาในสำหรับการการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้
กระทรวงยุติธรรมยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีให้แก้ไขเยียวยาในคดีแพ่งได้ด้วย
รวมทั้งอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในนามของรัฐบาล
- คณะกรรมการการค้าสหพันธรัฐ
(Federal Trade Commission) คณะกรรมการการค้าสหพันธ์รัฐมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการค้าหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและตามกฎหมายเคย์ตัน
(Clayton Act) อย่างไรก็ตามขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการการค้าของสหพันธ์รัฐอเมริกาครอบคลุมการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาดด้วย
2. ภาคเอกชน มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1
สิทธิในการดำเนินคดี ในมาตรา 4
ของกฎหมายเคย์ตันกำหนดว่าโจทก์ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายป้องกันการผูกขาดต้องสามารถแสดงให้ศาลเห็นว่ามีหรือเกิดความเสียหายกับธุรกิจหรือทรัพย์สินของตนเอง
ทั้งนี้ ในคดี Reiter v. Sonotone ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าลูกค้ารายย่อยที่จ่ายเงินที่เกิดจากการผูกขาดสำหรับสินค้าที่มีการรวมตัวกันถือว่าสร้างความเสียหาย
นอกจากนี้ เงื่อนไขธุรกิจหรือทรัพย์สิน กล่าวได้ว่าศาลสูงสุดได้พัฒนากฎที่ซับซ้อนมากขึ้น
เมื่อผลกระทบของกฎเป็นจำนวนเล็กน้อยของบุคคลที่ในทางเป็นจริงได้รับความเสียหายจากการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาดมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีได้
ตัวอย่างเช่น หากบริษัทที่เป็นเป้าหมายฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาด แต่ผู้ถือหุ้น
ลูกจ้างที่ต้องออกจากงาน
เจ้าของที่ดินและเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับเงินจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี
ศาลได้วางเกณฑ์สำหรับการฟ้องร้องดำเนินคดีของเอกชนไว้
ดังนี้ (ก) เกณฑ์ความเสียหายโดยตรง (Direct injury) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าววัดว่าความเสียหายของโจทก์ต้องเป็นผลโดยตรงหรือเพียงเกิดผลลัพธ์ทางอ้อมของการฝ่าฝืนกฎหมาย
(ข) เกณฑ์ขอบเขตเป้าหมาย (Target area) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวัดว่าโจทก์อยู่ในขอบเขตเป้าหมายของการฝ่าฝืนกฎหมาย
ทั้งสองเกณฑ์ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัดและมีแนวปฏิบัติแนะนำเล็กน้อยในการฟ้องร้องดำเนินคดี
ศาลสูงสุดยังคงมีความสงสัยเกี่ยวกับเกณฑ์ดังกล่าว ในคดี Blue Shield ศาลสูงสุดได้อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการฟ้องร้องคดีแม้ว่าจะไม่อยู่ในขอบเขตเป้าหมายของการรวมตัวต่อต้าน
(boycott) ในพื้นฐานของทฤษฎีว่า
ประการแรกความเสียหายของโจทก์เป็นเพียงผลที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายที่สามารถคาดการณ์ได้
และประการที่สองความเสียหายของโจทก์เป็นการสัมพันธ์ที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้กับความเสียหายที่จำเลยมีความประสงค์ในผลการกระทำดังกล่าว
แต่ในคดี Associated General Contractors ศาลวินิจฉัยว่าสหภาพไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามทฤษฎีว่าลูกจ้างของบริษัทได้รับความเสียหายจากการรวมตัวต่อต้านที่เกิดกับนายจ้าง
ตามกฎหมายมลรัฐมีอำนาจอำนาจในการฟ้อร้องในนามของลูกค้า
แต่มลรัฐไม่สามารถเป็นตัวแทนของบริษัทได้
การตัดสินให้ค่าเสียหายต้องปรับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการฟ้องร้องโดยภาคเอกชน
ในคดี Illinois Brick ศาลสูงสุดตัดสินว่าผู้ซื้อสินค้าทางอ้อม
เช่น ผู้ซื้อที่ทำธุรกรรมสองขั้นหรือมากกว่านั้นได้ถูกขจัดจากผู้ผูกขาดหรือการสบคบกันกีดกันอาจไม่ถือว่าเกิดความเสียหายตามกฎหมายป้องกันการผูกขาด
ตามกฎข้อนี้ผู้ซื้อทางอ้อมมีสิทธิต่อการเรียกเก็บค่าผูกขาดสูงเกินสมควรทั้งหมด
แม้ว่าผู้ซื้อโดยตรงมีแนวโน้มที่จะส่งผ่านการเรียกเก็บค่าผูกขาดไปยังลูกค้า
ล่าสุดศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้ยืนยันกฎดังกล่าวในคดี Utilicorp อนึ่งคำพิพากษาในคดี
Illinois Brick มีข้อยกเว้นสามประการตามที่ศาลชั้นต้นได้ให้ไว้ ดังนี้
ประการแรก สัญญาที่เกิดขึ้นก่อน กำหนดราคาสินค้าหรือบริการไว้
และกำหนดคุณภาพของสินค้าไว้
กล่าวคือหากผู้ซื้อโดยทางอ้อมมีสัญญากับผู้ผูกขาดหรือกลุ่มผูกขาดและในสัญญาได้ระบุไว้เฉพาะเกี่ยวกับคุณภาพและราคาไว้ชัดเจนศาลเชื่อว่าการผลักภาระค่าผูกขาดทั้งหมดไปยังผู้ซื้อทางอ้อมแน่นอน
ในคดีดังกล่าวผู้ซื้อทางอ้อมจะเกิดความเสียหายจากการซื้อขายดังกล่าว
ประการที่สองผู้สมคบร่วมกันในช่วงกลาง (Co-Conspirator in the Middle) หากผู้ซื้อทางตรงเป็นหนึ่งของการสมคบกัน
ผู้ซื้อทางอ้อมจะมีการกระทำกับทั้งสมาชิกที่ร่วมกันสมคบผูกขาดในการขายสินค้าและร่วมกับผู้ซื้อโดยตรง
ในลักษณะคล้ายกันหากผู้ซื้อทางตรงเป็นบริษัทสาขาของสมาชิกที่สมคบผูกขาดหรือถูกควบคุมโดยบริษัทเหล่านั้น
ผู้ซื้อทางอ้อมอาจติดตามการกระทำต่อต้านสมาชิกที่ร่วมสมคบกันผูกขาด
ประการที่สาม การกระทำเพื่อยับยั้ง (Actions for an Injunction) เหตุผลในคดี Illinios Brick คือการส่งผ่านความเสียหายเป็นสิ่งที่ยากมากในการคิดคำนวณและพิสูจน์
อย่างไรก็ตามการคิดคำนวณดังกล่าวไม่มีความจำเป็นในการกระทำเพื่อห้ามไว้
ในศาลส่วนใหญ่ตัดสินว่าข้อจำกัดของผู้ซื้อทางอ้อมใช้กับเฉพาะการกระทำที่ก่อให้เกิดเสียหายเท่านั้น
ความเสียหายจากการป้องกันการผูกขาด
หลักความเสียหายจากการป้องกันการผูกขาดกำหนดให้โจทก์แสดงว่าได้รับความเสียหายจากการฝ่าฝืนกฎหมายและได้รับความเสียหายจากผลลัพธ์ของการกีดกันการแข่งขันที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมาย
ตัวอย่างเช่นในคดี Brunswick ศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงการกระทำที่เสียหายสำหรับการควบรวมกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากความเสียหายของโจทก์เกิดจากการที่การควบรวมกิจการทำให้คู่แข่งขันมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
คล้ายกับคดี Cargill
ที่ศาลสูงสุดตัดสินว่าคู่แข่งขันไม่สามารถท้าทายการควบรวมกิจการของคู่แข่งขันในทางทฤษฎีได้ว่าหลังการควบรวมกิจการสามารถลดราคา
หรืออย่างน้อยไม่มีเหตุผลที่ดีในการพิจารณาว่าการลดราคาคอาจเป็นการตัดราคาเพื่อทำลายการแข่งขัน
หลักการความเสียหายจากการป้องกันการผูกขาดใช้กับทุกประเภทของการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาด
ในคดี USA Petroleum ศาลสูงสุดตัดสินว่าเป็นการป้องกันคู่แข่งขันจากการท้าทายการรักษาราคาขายต่อขั้นสูงสุดที่สร้างภาระแก่คู่แข่งขัน
ดังนั้นจึงชัดเจนว่าหลักดังกล่าวใช้กับการฝ่าฝืนกรณีเกิดจากตนเอง (per se rule)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น