ประเด็นคำถามในเชิงนโยบายต่อกฎหมายแข่งขันทางการค้าคือรัฐวิสาหกิจ (state enterprise) หรือหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร (Non-profit organisation) ควรจะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้าหรือไม่ ทั้งนี้เพราะหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงสังคม แม้ว่าจะอยู่ในบริบทเชิงพาณิชย์ หลายประเทศจึงยกเว้นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานไม่แสวงหากำไรต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้า ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศไทย แต่ปัจจุบันก็มีการโต้แย้งว่ารัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจกรรมทางการค้าและมักจะเป็นผู้มีอำนาจชี้นำตลาดภายในประเทศได้ ควรต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานไม่แสวงหากำไรต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแข่งขันทางการคค้าด้วยเพราะการดำเนินกิจกรรมของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานไม่แสวงหากำไรอาจส่งผลกระทบต่อบริบทการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญก็ได้ ในบทความนี้จึงนำเสนอแนวทางการตีความของสหภาพยุโรป
คำว่า "วิสาหกิจ" (Undertakings) ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติกฎหมายแข่งขันทางการค้าของยุโรป
และถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการวิเคราะห์มาตรา 81 และมาตรา 82
ของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการแข่งขันทางกาารค้าของยุโรป (EC) รวมทั้งข้อบังคับการควบรวมกิจการของยุโรป
อย่างไรก้ตามสนธิสัญญายุโรปไม่ได้ให้ความหมายของคำดังกล่าวไว้
ปล่อยให้ศาลยุติธรรมยุโรปพัฒนาและสร้างหลักการขึ้น ทั้งนี้
เพื่อประกันความมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ของบทบัญญัติการแข่งขัน
ศาลยุติธรรมยุโรปได้ยอมรับแนวทางหน้าที่ (Functional approach) ในการใช้คำวิสาหกิจดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงสถานะทางกฎหมายและวิธีการที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน
แนวทางหน้าที่ดังกล่าวมุ่งเน้นลักษณะเชิงพาณิชย์ของกิจกรรมและไม่มุ่งเน้นประเภทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น จึงอาจหมายความถึงบุคคลธรรมดา สมาคมทางการค้า ห้างหุ้นส่วน คลับหรือชมรม
บริษัท และหน่วยงานภาครัฐ
คำพิพากษาที่สำคัญคือข้อพิพาทในคดี FIFA-distribution of package tours
during the 1990 World Cup (Case IV/33.384 และ IV/33.378) กล่าวคือคณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาข้อเร้องเรียนว่าระบบการกระจายตั๋วของสมาคมฟุตบอลสหพันธ์ระหว่างประเทศหรือฟีฟ่า
(International Federation of
Football Association) ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1990 ณ
ประเทศอิตาลี
ในการจัดงานดังกล่าวมีระบบการกระจายตั๋วชมฟุตบอลที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดงานท้องถิ่น
(local organising committee) ซึ่งจัดตั้งร่วมกันโดยฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลของอิตาลี
(National Italian Football
Association) ระบบการกระจายตั๋วดำเนินการโดยสมาคมกีฬาหลายหน่วยงาน
แต่ได้มีข้อจำกัดในการจำหน่ายผ่านตัวแทนท่องเที่ยว ข้อจำกัดทำให้เกิดการมอบสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการจัดจำหน่ายตั๋วทั่วโลกเพราะถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการท่องเที่ยวอิตาลีด้วยโดยผ่านกิจการร่วมค้าของอิตาลี
ชื่อเรียกว่า "90 Tour Italia SpA" ข้อตกลงผูกขาดดังกล่าวทำให้ตัวแทนท่องเที่ยวอื่นไม่สามารถเสนอขายโปรแกรมท่องเที่ยวได้ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก
คณะกรรมาธิการตัดสินว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกระจายที่ผูกขาดตามมาตรา 81
ของสนธิสัญญายุโรป
คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีและพิจารณาว่าจะถือเป็นวิสาหกิจตามความหมายของมาตรา
81 หรือไม่
คำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมยุโรปอธิบายว่าหน่วยงานโดยไม่คำนึงถึงรูปแบบทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจประกอบเป็นวิสาหกิจภายในความหมายของมาตรา
81 และมาตรา 81
ของสนธิสัญญายุโรป
กิจกรรมทางเศณษฐกิจรวมถึงกิจกรรมไม่ว่าจะแสวงหากำไรหรือไม่ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางเศรษฐกิจ
การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นเทศกาลแข่งขันกีฬาสำคัญระดับโลกที่ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจ
กิจกรรมดังกล่าวรวมถึงการจำหน่ายโปรแกมการท่องเที่ยวที่ประกอบด้วยโรงแรมที่พัก
การขนส่ง และการท่องเที่ยว การโฆษณา และการถ่ายทอดสดสัญญาณโทรทัศน์ เป็นต้น
ฟีฟ่าเป็นสหพันธ์ของสมาคมกีฬาและดำเนินกิจกรรมทางกีฬา
ซึ่งดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
จึงเข้าข่ายการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความหมายของมาตรา 81 ของสนธิสัญญายุโรป
เช่นเดียวกันกับสมาคมฟุตบอลของอิตาลีก็ดำเนินกิจกรรมในลักษณะเดียวกันกับฟีฟ่าจึงอยู่ในความหมายของมาตรา
81 ของสนธิสัญญายุโรป
สำหรับคณะกรรมการจัดงานท้องถิ่นที่จัดตั้งโดยฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลอิตาลีเพื่อวัตถุประสงค์ดำเนิกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานทั้งทางด้านเทคนิคและพิธีการต่าง
ๆ ของงานแข่งขันฟุตบอลโลก และทั้งสองได้ตกลงและดำเนินข้อตกลงกระจายตั๋วด้วย
รายได้ของคณะกรรมการจัดงานท้องถิ่นมาจากหลายแหล่ง เช่น สิทธิในการถ่ายทอดโทรทัศน์
สิทธิในการโฆษณา และการจำหน่ายตั๋วเข้าชม สิทธิเด็ดขาดที่ให้กับกิจการร่วมค้า
"90 Tour Italia" ก่อให้เกิดค่าตอบแทนกับคณะกรรมการจัดงานฯ
ต่อมา คณะกรรมการจัดงานฯ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและถือเป็นวิสาหกิจตามความหมายของมาตรา
81 ของสนธิสัญญายุโรป
จึงกล่าวได้ว่าแม้ว่าหน่วยงานที่ไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรก็ตามก็ไม่ได้ทำให้อยู่นอกเหนือกฎหมายแข่งขันทางการค้าของยุโรป
แต่ศาลยุติธรรมยุโรปก็ได้ใช้เกณฑ์หน้าที่ประกอบในการพิจารณาด้วยซึ่งอาจได้รับการยกเว้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น