ในปี ค.ศ. 2016 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลเรียกว่า ระเบียบเรื่องการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General
Data Protection Regulation 2016/679 หรือนิยมเรียกว่า GDPR) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 แต่สิ่งที่ทำให้ระเบียบ GDPR นี้มีความสำคัญมากคือผลการใช้บังคับของข้อกำหนดดังกล่าวขยายไปยังนอกสหภาพยุโรปด้วย (Extra-territorial application) กล่าวคือระเบียบ GDPR มีผลใช้บังคับกับหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ได้จัดตั้งในสหภาพยุโรปแต่ได้มีการเสนอขายสินค้าหรือให้บริการแก่บุคคลในสหาภพยุโรป หรือดำเนินการติดตามพฤติกรรมของบุคคลในสหภาพยุโรป
ดังนั้น หน่วยงานหรือองค์กรของไทย เช่น โรงแรรม ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว และผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่จัดตั้งในประเทศไทยที่ได้เสนอขายสินค้าหรือให้บริการกับบุคคลที่ตั้งอยู่ในสหภาพยุโรปจะต้องประกันว่าแนวปฏิบัติและกระบวนการในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสหภาพยุโรปต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ GDPR ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงประการหนึ่งเพราะอาจถูกลงโทษตามข้อกำหนด GDPR ได้ บทกำหนดโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบ GDPR คือโทษปรับสูงถึงร้อยละ 4 ของรายได้ทั่วโลกประจำปี หรือ €20,000,000 ซึ่งขึ้นอยู่กับอย่างใดสูงกว่า ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดโทษปรับตามลำดับชั้น โดยจะใช้โทษปรับสูงสุดสำหรับการฝ่าฝืนที่ร้ายแรงที่สุด
โดยทั่วไป หน่วยงานหรือองค์กรของไทยไม่ได้มีที่ตั้งอยู่หรือปรากฎอยู่ในสหภาพยุโรปที่ไม่อาจเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ว่ามีเสี่ยงสูงเพราะคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของยุโรปอาจลงโทษหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ได้จัดตั้งหรือปรากฎในสหภาพยุโรป แต่เมื่อใดที่หน่วยงานหรืองอค์กรของไทยไปปรากฎตัวที่สหภาพยุโรป ความเสี่ยงในการถูกลงโทษก็จะเป็นจริงเพราะหน่วยงานหรือองค์กรของไทยเข้าไปอยู่ในเขตอำนาจรัฐของสหาภพยุโรปแล้ว
นอกจากนี้ หน่วยงานหรือองค์กรของไทยที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ควบคุมข้อมูลภายในสหภาพยุโรปอาจต้องประกันว่าแนวปฏิบัติและนโยบายตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ GDPR ที่กำหนดว่าผู้ควบคุมข้อมูลในสหภาพยุโรปในการแต่งตั้งผู้ประมวลผลข้อมูลดังกล่าวต้องจัดให้กฃมีการประกันที่เพียงพอเพื่อปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ตามระเบียบ GDPR และต้องประกันการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูล
หลักเกณฑ์ที่สำคัญของระเบียบ GDPR
ระเบียบ GDPR กำหนดว่าข้อมูลส่วนบุคคลต้อประมวลผลตามหลักการดังต่อไปนี้
(a) ข้อมูลส่วนบุคคลต้องประมวลผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นธรรม และโปร่งใส
(b) ข้อมูลส่วนบุคคลต้องเก็บรวบรวมและใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ชัดเจน และชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
(c) การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการตามเท่าที่จำเป็นเท่านั้น (data minimisation)
(d) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมต้องมีความถูกต้อง
(e) ข้อมูลต้องไม่จัดเก็บในรูปแบบที่สามารถระบุตัวตนได้ในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูล (storage limitation)
(f) ข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดเก็บและได้รับความคุ้มครองต่อการเข้าถึง การสูญหาย การถูกทำลาย หรือเสียหาย (integrity and confidentiality)
อนึ่ง ระเบียบ GDPR กำหนดให้สิทธิแก่บุคคลหลายประการตั้งแต่ สิทธิที่ได้รับแจ้ง สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของตนเอง สิทธิในการแก้ไขข้อมูลของตนเอง สิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่จะถูกลืม สิทธินการจำกัดการประมวลผล และสิทธิในการย้ายข้อมูลของตนเอง เป็นต้น ส่วนผู้ควบคุมข้อมูลต้องดำเนินการตามกฎหมายเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าของข้อมูลโดยไม่ชักช้า (โดยทั่วไปคือ 1 เดือน) ระเบียบ GDPR กำหนดแนวปฏิบัติใหม่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งความจำเป็นในการเก็บรักษาบันทึกของวิะีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล ความจำเป็นในการดำเนินการประเมินผลกระทบการคุ้มครองข้อมูล และเงื่อนไขในการดูแลการคัดเลือกและความเกี่ยวพันกับผู้ประมวลผลข้อมูลมากขึ้น
หน่วยงานหรือองค์กรของไทยควรต้องดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติตามระเบียบ GDPR (โดยขึ้นอยู่กับระดับการเปิดเผย) เช่น
- การทบทวนแนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการเพื่อประกันว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดสอดคล้องกับหลักการที่กำหนดในระเบียบ GDPR
- การทบทวนแนวปฏิบัติ แนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามที่กำหนดในระเบียบ GDPR
- การทบทวนนโยบายสิทธิส่วนตัว การคุ้มครองข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อประกันว่าบุคคลได้รับความคุ้มครองในระดับที่กำหนดไว้ในระเบียบ GDPR
อนึ่ง หน่วยงานหรือองค์กรของไทยที่เสนอบริการประมวลผลข้อมูลกับผู้ควบคุมข้อมูลในสหภาพยุโรปอาจต้องมีหน้าที่ประกันว่าได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ GDPR ด้วย ส่วนบริษัทของไทยที่เสนอขายสินค้าหรือให้บริการกับหรือติดตามพฤติกรรมของบุคคลในสหภาพยุโรปควรต้องปฏิบัติตามให้สอกคล้องกับหลักเกณฑ์ตามระเบียบ GDPR เท่าที่จะปฏิบัติได้
วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ระเบียบเรื่องการปิดกั้นการให้บริการเชิงภูมิศาสตร์ (Geo-Blocking Regulation) ของสหภาพยุโรป
การปิดกั้นการให้บริการคือแนวปฏิบัติของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการออนไลน์ใช้ในการดำเนิธุรกิจออนไลน์
โดยปฏิเสธการเข้าถึงเว็บไซต์จากประเทศสมาชิกอื่น
รวมถึงสถานการณ์ที่มีการอนุญาตให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์
แต่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจากต่างประเทศต้องซื้อหรือใช้บริการด้วยการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตของประเทศที่กำหนด
ในลักษณะที่ใกล้เคียงกันเชิงกายภาพเรียกว่า การเลือกปฏิบัติเชิงภูมิศาสตร์ (Geo-discrimination) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อการซื้อสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้ผ่านระบบออนไลน์ เช่น
เมื่อลูกค้าได้ปรากฎตัวในสถานที่ของผู้ขายสินค้า
แต่ถูกปฏิเสธการซื้อสินค้าหรือบริการ
หรือผู้ขายกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างจากการจำหน่ายแก่ลูกค้าในประเทศตนเอง
ในสหภาพยุโรป ระเบียบเรื่องการปิดกั้นการให้บริการเชิงภูมิศาสตร์
(Goe-Blocking Regulation) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสแก่ลูกค้าและธุรกิจมากขึ้นในตลาดการค้าภายในสหภาพยุโรป
โดยเฉพาะ ระเบียบดังกล่าวได้ระบุปัญหาของลูกค้าที่ไม่สามารถซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศสมาชิกอื่นด้วยเหตุผลไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ
ถิ่นที่อยู่หรือสถานประกอบการ เป็นต้น ดังนั้น
การเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าดังกล่าวพยายามเข้าถึงเพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขด้านราคาหรืออื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคนชาติหรือผู้ที่อยู่อาศัยในประเทศสมาชิกของผู้ขายด้วยกัน
การเข้าถึงระบบออนไลน์
ระเบียบเรื่องการปิดกั้นการให้บริการเชิงภูมิศาสตร์ได้ห้ามการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์และการเปลี่ยนเส้นทางจราจรอินเทอร์เน็ตของลูกค้าโดยไม่ได้ความยินยอมจากลูกค้าก่อน
ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสด้านราคามากขึ้นด้วยการอนุญาตให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการในต่างประเทศที่แตกต่างกันได้เพื่อเปรียบเทียบราคาหรือเงื่อนไขการขายอื่นๆ
ระเบียบดังกล่าวนี้ยังใช้บังคับกับบริการที่มิใช่ภาพและเสียงระบบอิเล็กทรอนิกส์ (non-audio-visual
electronically supplied services) เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เพลง เกมส์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
ลูกค้าจากประเทศอิตาลีต้องการเข้าถึงเว็บไซต์ของร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์
แม้ว่าลูกค้าจะพิมพ์ URL เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
แต่ก็จะถกเปลี่ยนเส้นทางจราจรไปยังเว็บไซต์ภาษาอิตาลี ทั้งนี้ ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
การเปลี่ยนเส้นทางจราจรอินเทอร์เน็ตของลูกค้าจำเป็นต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากลูกค้าและแม้ว่าลูกค้าจะให้ความยินยอมในการเปลี่ยนเส้นทางจราจรอินเทอร์เน็ต
เว็บไซต์รูปเดิมที่ลูกค้าต้องการเข้าถึงควรจะต้องยังคงให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้เช่นเดิม
การเข้าถึงสินค้าหรือบริการ
ระเบียบนี้กำหนดสถานการณ์เฉพาะเจาะจงในกรณีที่ไม่มีเหตุผลอันเหมาะสมโดยสมควรสำหรับการปิดกั้นการให้บริการเชิงภูมิศาสตร์หรือการเลือกปฏิบัติในรูปแบบอื่นในเรื่องสัญชาติ
ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ประกอบกิจการหรือจัดตั้งบริษัท
ในสถานการณ์ดังกล่าวลูกค้าจากประเทศสมาชิกอื่นมีสิทธิเข้าถึงสินค้าหรือบริการเช่นเดียวกันกับลูกค้าที่อยู่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ตั้งของผู้จำหน่าย
ซึ่งสถานการณ์ที่ระเบียบนี้กำหนดไว้ มีดังนี้
การจำหน่ายสินค้าโดยไม่มีการจัดส่งสินค้า
ในกรณีที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้า
เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา
หรือหนังสือที่ผู้จำหน่ายสินค้าไม่ได้มีการจัดส่งสินค้าดังกล่าวข้ามพรมแดนให้แก่ลูกค้าของประเทศสมาชิก
ลูกค้าดังกล่าวจากประเทศสมาชิกอื่นมีสิทธิที่จะได้ดำเนินการจัดส่งด้วยตนเองในประเทศสมาชิกของผู้จัดจำหน่ายเช่นเดียวกันกับลูกค้าท้องถิ่นในพื้นที่ของผู้จัดจำหน่าย
ตัวอย่างเช่น
ลูกค้าในประเทศอังกฤษต้องการซื้อกล้องและพบข้อเสนอที่ดีในเว็บไซ๖เบอร์มันนี้
ลูกค้าจะมีสิทธิสั่งซื้อสินค้าและไปรับสินค้าที่สถานที่ของผู้จำจำหน่ายหรือดำเนินการจัดส่งสินค้าดังกล่าวด้วยตนเองไปยังที่บ้านในอังกฤษได้
การจำหน่ายบริการผ่านการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อบริการอิเล็กทรอนิกส์
เช่น บริการคลาวด์ ดาต้าแวร์เฮาส์ หรือเว็บไซต์โฮสติ้ง จากผู้ให้บริการที่อยู่ในประเทศสมาชิกอื่น
ลูกค้าดังกล่าวมีสิทธิเช่นเดียวกันกับลูกค้าในพื้นที่ของผู้ให้บริการ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าในประเทศโปแลนด์ต้องการซื้อบริการโฮสติ้งสำหรับเว็บไซต์ของตนเองจากบริษัทในประเทศเยอร์มันนี
ลูกค้าจะเข้าถึงบริการและสามารถลงทะเบียนและซื้อบริการได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเพิ่มเติมเมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้าในประเทศเยอรมันนีที่บริษัทผู้ให้บริการจัดตั้ง
การให้บริการ ณ
สถานที่ทางกายภาพเฉพาะเจาะจง
ในกรณีที่ลูกค้าซื้อบริการที่ให้บริการในพื้นที่ของผู้จัดจำหน่ายหรือในสถานที่ตั้งทางกายภาพของผู้จัดจำหน่าย
หากสถานที่เหล่านั้นจัดตั้งในประเทศสมาชิกอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้าอยู่
ประเภทเหล่านี้ครอบคลุมบริการ เช่น การจำหน่ายตั๋วละคร การเช่าโรงแรม หรือรถยนต์
ในสถานการณ์ดังกล่าว ลูกค้ามีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น
ครอบครัวชาวอิตาลีเดินไปเที่ยวสวนสนุกที่ฝรั่งเศสและต้องการได้รับส่วนลดสำหรับตั๋วเข้าสวนสนุก
ผู้ประกอบการสวนสนุกต้องลดราคาให้แก่ครอบครัวชาวอิตาลีเหมือนกับที่ลดราคาให้แก่ครอบครัวชาวฝรั่งเศส
แต่ก็มีบางกรณีที่ระเบียบนี้ยอมให้มีการเลือกปฏิบัติได้หากกฎหมายของสหภาพยุโรปหรือกฎหมายภายในประเทศกำหนดให้ผู้ค้าปิดกั้นหรือไม่ให้บริการได้
เช่น การห้ามจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอกอฮอลล์แก่คนต่างชาติ เป็นต้น
การห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านการชำระเงิน
การห้ามการปฏิบัติที่แตกต่างในกรณีที่มีการดำเนินการตามเงื่อนไขสามประการครบถ้วน
ดังต่อไปนี้
(1) การชำระเงินได้ดำเนินการผ่านระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการโอนเครดิต
(credit transfer) การหักเงินเดบิตโดยตรง
หรือระบบบัตรเครดิตภายในแบนด์หรือประเภทเดียวกัน
(2) ผ่านการยืนยันความถูกต้อง
และ
(3) การชำระเงินในสกุลเงินที่ผู้ค้ายอมรับชำระ
การเลือกปฏิบัติในสถานการณ์ที่ไม่เปิดเผยโดยระเบียบนี้
การห้ามการเลือกปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อมบนพื้นฐานของสัชาติถือเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายสหภาพยุโรป
โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่ครอบคลุมภายใต้ระเบียบนี้ ในมาตรา 20(2)
ของข้อกำหนดบริการ (Services Directive (2006/123/EC)) สามารถมีผลใช้บังคับด้วย และตามบทบัญญัตินี้
ผู้ค้าอาจเลือกปฏิบัติแตกต่างได้บนพื้นฐานของสัญชาติหรือสถานที่อยู่อาศัย
หากหลักเกณฑ์มีความเป็นกลางที่สมเหตุสมผล ในบางกรณี กฎหมายเฉพาะสาขาธุรกิจ เช่น
กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งหรือบริการสุขภาพ อาจใช้บังคับในกรณีดังกล่าว
บริการเนื้อหาที่มิใช่การแพร่ภาพกระจายเสียงที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์และบริการแพร่ภาพกระจายเสียง
บทบัญญัติของบริการเนื้อกาที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มิใช่บริการแพร่ภาพกระจายเสียง
เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพลงออนไลน์ โปรแกมคอมพิวเตอร์
และวิดีโอเกมส์ไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามของระเบียบนี้
ผู้ค้าจึงสามารถใช้เงื่อนไขทั่วไปแตกต่างกันได้ในการเข้าถึงด้วยเหตุผลสัญชาติของลูกค้า
ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ตั้งบริษัท
รวมทั้งสามารถปกิเสธให้บริการแก่ลูกค้าจากประเทศสมาชิกอื่นในกรณีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในระเบียบนี้ได้
อย่างไรก็ตาม บริการเหล่านี้ยังคงอยู่ภายใต้ข้อห้ามของระเบียบนี้ในปิดกั้นหรือจำกัดการเข้าถึงเพื่อติดต่อสื่อสารทางออนไลน์บนพื้นฐานของสัญชาติ
ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่จัดตั้งบริษัทของลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้น
หากมีการให้บริการข้ามพรมแดนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีระบุข้อยกเว้นไว้ในระเบียบนี้หรือไม่ก็ตาม
ผู้ค้ามีหน้าที่ต้องห้ามเลือกปฏิบัติวิธีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานของสัญชาติของลูกค้า
ในอีกทางหนึ่ง ระเบียบนี้ไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่ถูกยกเว้นจากขอบเขตของข้อกำหนดบริการ
(Services Directive) ดังนั้น บริการแพร่ภาพกระจายเสียงจึงไม่ตกอยู่ภายใต้ขอบเขตการบังคับใช้ของข้อกำหนดนี้
ธุรกรรม B2C และธุรกรรม B2B
การให้ความช่วยเหลือลูกค้าในกรณีมีข้อพิพาท
กับผู้จำหน่ายหรือให้บริการ
การบังคับใช้ระเบียบนี้
ประเทศสมาชิกกำหนดหน่วยงานทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการบังคับใช้ระเบียบที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าและลูกค้า การบังคับใช้ตามระเบียบนี้ได้อำนวยความสะดวกโดยการรวมระเบียบในภาคผนวกของระเบียบความร่วมมือให้ความคุ้มครองลูกค้าด้วย (Regulation
in the Annex to the Consumer Protection Cooperation Regulation (2006/2004 ซึ่งปรับปรุงแก้ไขโดย 2017/2394) นอกจากนี้
ธุรกิจและลูกค้าจะสามารถบังคับใช้สิทธิของตนเองที่เกิดจากระเบียบนี้บนพื้นฐานของกฎหมายของสหภาพยุโรปและกฎภายในประเทศที่มีอยู่ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561
หลักความรับผิดชอบของรัฐตามมาตรา 6 และมาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศ
ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบกับความทะเยอทะยานของบางประเทศสามารถนำมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ
และที่ผ่านมาได้สร้างความก้าวหน้าและสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ในด้านหลายๆ ด้าน อาทิ
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) อุตุนิยมวิทยา กิจกรรมด้านการทหาร เป็นต้น และด้วยเหตุที่ประเทศต่างๆ ต้องการใช้อวกาศเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ จนมีความกังวลว่าอาจกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศได้
จึงทำให้มีการประชุมร่วมกันของประเทศต่างๆที่มีศักยภาพในการสำรวจและใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อสร้างกฎเกณฑ์การสำรวจและใช้ประโยชน์อวกาศร่วมกัน
โดยกฎหมายอวกาศฉบับแรกคือ สนธิสัญญาอวกาศปี 1967 ซึ่งหลังจากนั้นได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์อวกาศอีกหลายฉบับ
เช่น ข้อตกลงดวงจันทร์ปี 1979 ข้อตกลงเกี่ยวกับการช่วยเหลือมนุษย์อวกาศ
ปี 1968 อนุสัญญาความรับผิดระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากวัตถุอวกาศปี
1972 อนุสัญญาและการลงนามในการ ส่งยานอวกาศ ปี 1975 แต่แม้จะมีกฎหมายอวกาศออกมาหลายฉบับ
แต่การมีกฎหมายเหล่านี้ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งในการตีความตัวกฎหมายขึ้นมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการถกเถียงกันมากคือเรื่องความรับผิดชอบของรัฐในกิจกรรมอวกาศ
มาตรา 6 และมาตรา
8 ของสนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 ได้กำหนดพันธกรณีสำหรับรัฐภาคีสมาชิกให้ปฏิบัติตามในการดำเนินกิจกรรมของตนเองในห้วงอวกาศ
โดยมาตรา 6 กำหนดว่ารัฐภาคีสมาชิกต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจกรรมแห่งชาติในอวกาศ
...
ไม่ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะดำเนินการโดยองค์กรของรัฐบาลหรือมิใช่องค์กรของรัฐบาลและเพื่อประกันว่ากิจกรรมแห่งชาติได้ดำเนินการสอดคล้องกับข้อบทของสนธิสัญญา
ทั้งนี้ ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ (responsibility) ในแง่ของมาตรา
6 ของสนธิสัญญาอวกาศครอบคลุมไปยังรัฐของกิจกรรมแห่งชาติทั้งหมดในอวกาศ
ผลกระทบที่สำคัญที่เกิดขากความรับผิดชอบตามมาตรา 6 มีการถกเถียงจากรัฐที่ออกกฎหมายในระดับประเทศเพื่อตอบคำถามว่ากิจกรรมอวกาศของเอกชนและผลกระทบทางกฎหมายที่รัฐมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ
ประวัติการร่างมาตรา 6 สนธิสัญญาอวกาศแสดงการถกเถียงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการร่างประกาศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยหลักกฎหมายกำกับกิจกรรมของรัฐในการสำรวจและใช้ประโยชน์อวกาศ
ปี ค.ศ. 1963 (United Nations Declaration on the Legal
Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of
Outer Space)
สหภาพโซเวียตเห็นด้วยกับการผูกขาดโดยรัฐ
(state monopoly) ซึ่งตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการอวกาศได้และพยายามลดเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ
ในมาตรา 6 เป็นการประนีประนอมระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ
กิจกรรมอวกาศสามรรถดำเนินการได้โดยหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายนอกเหนือจากหน่วยงานรัฐบาล
แต่รัฐต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจกรรมแห่งชาติไม่ว่ากิจกรรมนั้นดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐบาลหรือมิใช่หน่วยงานรัฐบาล
ในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดนี้ใช้บังคับตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ
หากความรับผิดชอบของรัฐโดยทางตรงต้องเกี่ยวกับการกระทำที่มีส่วนโดยตรงต่อรัฐและรัฐสามารถถูกระบุสำหรับการกระทำโดยเอกชนตามความรับผิดชอบโดยทางอ้อม
(indirect) ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (due care) การดูแลอย่างเหมาะสม (due diligence) มาตรา 6
มองว่ากิจกรรมของหน่วยงานรัฐบาลและมิใช่รัฐบาลไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่ากิจกรรมดังกล่าวรัฐจะเป็นเจ้าของหรือเป็นของเอกชน
ข้อความคิด “กิจกรรมแห่งชาติ” ที่พิจารณาขอบเขตของความรับผิดชอบของรัฐ โดยเฉพาะในแง่ของประเภทกิจกรรมของเอกชน
ข้อความคิดดังกล่าวไม่ได้จำกัดกิจกรรมของรัฐในแง่ที่จำกัด
แต่สามารถหมายความรวมกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับรัฐ
กิจกรรมแห่งชาติรวมสิ่งที่ดำเนินการโดยรัฐเองโดยผ่านหน่วยงานรัฐบาลโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่
สำหรับกิจกรรมของเอกชน แนวปฏิบัติแสดงว่าเกณฑ์เรื่องคนชาติไม่ได้เด็ดขาด
การขาดนิยามความหมายที่ชัดเจนในสนธิสัญญาอวกาศและระดับระหว่างประเทศ
รัฐได้ตีความแนวคิดของกิจกรรมแห่งชาติในกฎหมายภายในประเทศในแง่กว้าง
รวมทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการจากอาณาเขตหรือจากเขตอำนาจรัฐโดยคนชาติอื่น
นอกจากนี้
รัฐยังรวมแนวคิดกิจกรรมแห่งชาติที่ดำเนินการโดยคนชาติจากอาณาเขตของรัฐอื่นหรือจาก res communis omnium เช่น
ทะเลหลวงหรือกิจกรรมที่ดำเนินการโดยคนชาติอื่นจากอาณาเขตหรือเขตอำนาจรัฐอื่น
ผลลัพธ์ของการประนีประนอมคือมาตรา 6 กำหนดให้รัฐมีพันธกรณีเฉพาะสำหรับกิจกรรมของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลที่ต้องมีการได้รับอนุญาตและการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่องโดยรัฐภาคีสมาชิกที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการให้ความหมาย
รัฐที่เหมาะสม ที่ถือว่ามีความสำคัญในการระบุรัฐที่ต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับหน่วยงานที่มิใช่รัฐ
แนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดในสนธิสัญญาอวกาศ
โดยเฉพาะรับที่เหมาะสมเป็นรัฐที่มีเขตอำนาจรัฐและมีอำนาจควบคุมกำกับเหนือวัตถุอวกาศและบุคลากรบนวัตถุอวกาศในนามของรัฐที่จดทะเบียน
มาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดว่ารัฐภาคีสมาชิกที่จดทะเบียนวัตถุอวกาศต้องมีเขตอำนาจรัฐและอำนาจควบคุมเหนือวัตถุอวกาศดังกล่าว
บุคลากรบนวัตถุอวกาศ ในขณะที่อยู่ในห้วงอวกาศหรือเทหวัตถุ
ข้อบทดังกล่าวกังวลการใช้อำนาจพิเศษของรัฐผู้ส่งในการจดทะเบียนวัตถุอวกาศและดังนั้นในการใช้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมเหนือวัตถุอวกาสดังกล่าว
คำว่า เขตอำนาจรัฐและอำนาจควบคุมเป็นผลลัพธ์จากหลักการไม่อ้างเป็นเจ้าของ (non-appropriation
principle) และการขาดการอ้างไปยังอธิปไตยของรัฐได้
เขตอำนาจรัฐจึงหมายถึงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับบุคคลและวัตถุ
กฎหมายระหว่างประเทศได้แบ่งแยกระหว่างเขตอำนาจรัฐในเชิงอาณาเขต กึ่งอาณาเขต
และบุคคลไว้ เขตอำนาจรัฐจึงเป็นสิ่งหลักในการตัดสินกฎหมายที่ใช้บังคับ
ความสามารถในการควบคุมมีความหมายมากกว่าความสามารถในทางเทคนิค
การควบคุมหมายความถึงสถานการณ์จริงและการควบคุมดังกล่าวควรได้รับการประกันโดยวิธีการทางเทคนิค
เป็นสิทธิของรัฐที่จดทะเบียนในการรับเอากฎทางเทคนิคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของวัตถุอวกาศ
และในกรณีที่จำเป็น นำทาง ระงับ ปรับปรุง
และแก้ไของค์ประกอบของวัตถุอวกาศและเป้าหมายใหม่ให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้
มีความแตกต่างระหว่างคำว่า ควบคุม บนวัตถุอวกาศ บนส่วนประกอบของวัตถุอวกาศ หรือ
บนบุคลากรบนวัตถุอวกาศในทางเทคนิค คำอธิบายสะท้อนไปยังการจัดตั้งข้อบังคับหลากหลาย
ในการจดทะเบียนตามมาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศนั้นประกอบด้วยสามหลักการ
ดังนี้
1) สันนิษฐานว่าวัตถุอวกาศทั้งหมดต้องจดทะเบียนในระดับของประเทศ
2) ในการเริ่มต้นวัตถุอวกาศเหล่านั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมดูแลของรัฐที่จดทะเบียน
3) วัตถุอวกาศที่ปลดประจำการต้องส่งกลับรัฐที่จดทะเบียน
อย่างไรก็ตาม
ในขณะที่สนธิสัญญาสันนิษฐานว่าวัตถุอวกาศจะต้องจดทะเบียน
แต่ไม่มีข้อบทใดสำหรับการจดทะเบียน
อนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุที่ส่งไปสู่อวกาศได้แก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ เงื่อนไขสำคัญของอนุสัญญาประกอบด้วยสามประการ
ประการแรก
อนุสัญญาฯกำหนดให้รัฐผู้ส่งแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอวกาศแก่นายทะเบียนขององค์การสหประชาชาติ
(United Nations Register)
วัตถุประสงค์ของการระบุวัตถุอวกาศของอนุสัญญาจดทะเบียนดูได้จากอารัมภบทของอนุสัญญาฯที่ระบุว่า
ความปรารถนา (ตามสนธิสัญญาอวกาศ
ข้อตกลงว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด)
ในการมีข้อบทสำหรับการจดทะเบียนโดยรัฐผู้ส่งวัตถุอวกาศเพื่อให้รัฐมีวิธีการและกระบวนการขั้นตอนเพิ่มเติมในการช่วยเหลือในการระบุวัตถุอวกาศ
โดยใช้ระบบการจดทะเบียนวัตถุอวกาศแบบบังคับ
ประการที่สอง รัฐมีหน้าที่ต้องธำรงรักษาระบบทะเบียนแห่งชาติว่าด้วยวัตถุอวกาศที่ส่งไปสู่อวกาศ
และ
ประการที่สาม
อนุสัญญาฯได้กำหนดกระบวนการขั้นตอนในการะบุวัตถุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐภาคีสมาชิกหรือคนชาติหรือนิติบุคคลหรืออาจมีลักษณะที่เป็นอันตรายหรือทำให้เกิดความเสียหายได้
อนุสัญญาฯยังกำหนดให้ประเทศที่จดทะเบียนจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับวัตถุอวกาศของตนเองอย่างรวดเร็วเท่าที่จะได้ด้วย
ในแง่นี้
รัฐภาคีสมาชิกสนธิสัญญาอวกาศสามารถดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้โดยการออกกฎหมายอวกาศแห่งชาติ
กฎหมายภายในประเทศว่าด้วยกิจการอวกาศนี้มักมีสองวัตถุประสงค์ในการอนุวัติการตามพันธกรณีของรัฐและสร้างความชัดเจนถึงกรอบกฎหมายของภาคเอกชน
รัฐควรออกกฎหมายภายในประเทศเพื่ออนุวัตรการและตอบคำถามกิจกรรมอวกาศภาคเอกชนที่ครอบคลุมความรับผิดระหว่างประเทศและผลลัพธ์กฎหมายที่เกิดขึ้น
องค์กรปะกอบสำคัญของกฎหมายอวกาศของประเทศมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 1) การอนุญาตและการควบคุมกำกับกิจกรรมอวกาศและการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ
2) การชดเชย และ 3) ประเด็นสำคัญอื่นๆ
ระดับของกฎหมายเฉพาะขึ้นอยู่กับกิจกรรมอวกาศของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลที่ดำเนินการโดยคนชาติของรัฐหรือจากอาณาเขตของรัฐ
ด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจและการพาณิชย์ในกิจกรรมอวกาศทำให้เกิดการพัฒนากฎหมายอวกาศที่กำกับการดำเนินงานของเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของรัฐคนชาติและรัฐที่มีเขตอำนาจรัฐ
การยอมรับบทบัญญัติกฎหมายของกิจกรรมอวกาศสามารถสร้างประโยชน์แก่ประเทศหลายทาง
รัฐไม่ควรพิจารณาการยกร่างกฎหมายเป็นข้อเสียเปรียบจากการกำกับดูแลกิจกรรมอวกาศที่ดำเนินการโดยเอกชน
แม้กฎหมายจะเปิดเผยความรับผิดชอบอย่างชัดแจ้ง
การดำเนินการออกกฎหมายอวกาศมีประโยชน์
รัฐสามารถอ้างเขตอำนานรัฐและสร้างวิธีการที่เป็นไปได้ในการควบคุมกิจกรรมอวกาศของเอกชน
ในขณะที่การจดทะเบียนวัตถุอวกาศในฐานะรัฐผู้ส่ง รัฐสามารถเน้นย้ำเขตอำนาจและการควบคุมดูแลเหนือวัตถุอวกาศ
แม้ว่าจะมีเอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินการ
รัฐหนึ่งรัฐใดสามารถบรรจุบทบัญญัติกฎหมายภายในประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ
เช่น เงื่อนไขการบังคับให้ทำประกันภัยรวมกับการจำกัดค่าชดเชย
ในการยกร่างกฎหมายอวกาศของประเทศนั้น รัฐสามารถเพิ่มมาตรการเพื่อลดความรับผิดชอบและความรับผิด
เช่น การกำหนดให้มีข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยและการชดเชยค่าเสียหาย อย่างไรก็ตาม
องค์ประกอบสำคัญในการลดความรับผิดชอบและความรับผิดคือการพิจารณาข้อตกลงระหว่างประเทศกับรัฐผู้ส่งรัฐอื่น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
เนื้อหาของข้อมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติและการเจรจาของอนุกรรมาธิการกฎหมายยกร่าง
UNCOPUOS ได้เน้นย้ำความสำคัญของกฎหมายภายในประเทศ ข้อมติที่ 59/115 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2004 ว่าด้วยการใช้แนวคิดของรัฐผู้ส่ง
(launching State) โดยแนะนำรัฐที่ดำเนินกิจกรรมอวกาศให้พิจารณาออกกฎหมายอนุวัติการเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับกิจกรรมของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลภายในเขตอำนาจรัฐของตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมติที่ 62/101 วันที่ 17 ธันวาคม 2007 ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมแนวปฏิบัติของรัฐและองค์การระหว่างประเทศในการจดทะเบียนวัตถุอวกาศและเชิญชวนหน่วยงานดังกล่าวทำให้แนวปฏิบัติสอดคล้องกันโดยให้มีรูปแบบเดียวกันในประเภทของข้อมูลที่กำหนดโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ
ประเด็นปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ในต้นปี 2016 นักวิเคราะห์และที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Thing หรือ IoT) ซึ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งอธิบายได้โดยง่ายคือการที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ
ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการและควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิด และสั่งการการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร
เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ
ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
เทคโนโลยี IoT จำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้
เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน
แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์
และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้
ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ
และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
ในเรื่องด้านความมั่นคงปลอดภัยนี้ บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกอย่างบริษัท Gartner ทำนายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 มากกว่าร้อยละ 25 ของการโจมตีีที่สามารถระบุได้ในภาคอุตสาหกรรมมักจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT เป็นความจริง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในบรรดาอุปกรณ์เทคโนโลยี IoT จึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยถือว่าเป็นของคู่กันหรือเป็นคุณลักษณะหนึ่งของสินค้าหรือบริการ ผู้บริหารบริษัทในอุตสาหกรรม IoT จะให้ความสำคัญกับกการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและค่าชดเชยเชิงลงโทษเป็นจำนวนมหาศาล แม้ว่าจำนวนเงินค่าชดเชยที่บริษัทต้องรับผิดชอบจ่ายให้แก่ผู้เสียหายจะเป็นจำนวนเงินไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับชื่อเสียงซึ่งอาจทำให้บริษัทต้องล้มละลายหรือออกจากตลาดไปเพราะการขาดความน่าเชื่อถือ
ในทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมนั้น บริษัทด้าน IoT พยายามออกแบบสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นปัจจัยลำดับต้นๆไปพร้อมๆ ด้วยการพยายามใช้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) กันด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการรักาาความมั่นคงปลอดภัยให้ความเห็นว่า แม้ภาคอุตสาหกรรมพยายามใช้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการให้บริการแก่ลูกค้า การละเมือหรือฝ่าฝืนระบบความมั่นคงปลอดภัยก็ยังคงเกิดขึ้นและบรรดาบริษัทด้าน IoT ก็หวังว่าบริษัทคงไม่โชคร้ายที่ชื่อขงอบริษัทจะไปปรากฎบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ในเรื่องดังกล่าว
หากพิจารณาเกินไปกว่าประเด็นเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัทสามารถปกป้องตนเองจากความเสียหายทางกฎหมายในกรณีที่มาตรการรักษาความปลอดภัยไม่สามารถทำงานได้ ในชั้นแรกนั้น มีข้อกังวลทางกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการประเมินในการให้บริการ IoT ที่ปรึกษาในเรื่องนี้จำเป็นต้องเพิ่มอีกชั้นหนึ่งในการวิเคราะห์เมื่อมีการจัดทำยุทธศาสตร์ IoT กล่าวคือต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า "อะไรที่เป็นความเสี่ยงทางกฎหมายหากทุกสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น"
1. ความไม่ถูกต้องของข้อมูล (data inaccuracy) เนื่องจากภายในปี ค.ศ. 2020 จะมีอุปกรณ์มากกว่า 26 พันล้านชิ้นเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดในการจัดเก็ยรวบรวมข้อมูล ระบบจะต้องถูกออกแบบให้สามารถระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ดังกล่าวหรือสามารถตรวจสอบแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือการแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ซึ่งความไม่ถูกต้องของข้อมูลอาจก่อให้เกิดผลเสียหายหรือละเมิดทางกฎหมายได้ อันจะนำไปสู่การฟ้องร้องตามมาได้ ตัวอย่างเช่น เคยมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เปิดเผยผิดพลาดตามกฎหมายการรายงานและเครดิตที่เป็นธรรม (Fair Credit and Reporting Act)
2. ความปลอดภัยสาธารณะ (public safety) กล่าวคือในแง่ของอุปกรณ์ที่เชื่อต่อกัน การโจมตีทางไซเบอร์สามารถควบคุมอุปกรณ์แม้เป็นการชั่วคราวและแฮกเกอร์มีศักยภาพที่จะสร้างความเสียหายในวงกว้างได้ เช่น หากมีการแฮกเข้าไปในรถยนต์ไร้คนขับหรือโรงผลิตไฟฟ้าก็สามรถสร้างความเสียหายแก่สาธารณะได้ ในประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ที่รัฐบางต้องเข้ามามีบทบาทในการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งของรัฐและหน่วยงานเอกชนในเรื่องการกำหนดมาตรการคุ้มครองโครงสร้างพื้นที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ (critica;l information infrastructure) ตั้งแต่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ มาตรการส่งเสริมและจูงใจ การตรวจสอบและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค เป็นต้น
3. สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ความเสียหายทางตรงสามารถลดน้อยลงด้วยการลดปัญหาการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ตัวอย่างเช่น การเปิดเผยจำนวนก้าวเดินของผู้ใช้งานนาฬิกาติดตามการออกกำลังกาย Fitbit อาจไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางตรงต่อบุคคลผู้ใช้ดังกล่าว แต่ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่อาจฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวออน์ไลน์ของเด็ก (Children’s Online Privacy Protection Act) ก็ได้ ในทางกฎหมายนั้นผู้ประกอบการที่ให้บริการสินค้า IoT จำเป็นต้องรู้หรือทราบว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมนั้นเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ขวบ จึงจะถือว่ามีความผิดในกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตามรัฐสภาสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะข้อยกเว้นต่างๆ อันส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการสินค้า IoT มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นมุมมองที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานออน์ไลนทั่วไปผ่านระบบคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อน โดยขาดความตระหนักถึงสินค้า IoT ที่กำลังแพร่หลายมากขึ้นนเรื่อยๆ ในอนาคต
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดจากนวัตกรรม นโยบายภาครัฐและกฎหมายที่ยังไม่สออดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ยังคงไม่มีความชัดเจนในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลคือความไม่เข้าใจในลักษณะของเทคโนโลยีหรือตกใจกับเหตุการณ์ซึ่งอาจนำไปสู่การควบคุมหรือกำกับดูแลที่เข้มงวดมากเกินไปจนอาจส่งผลเป็นการชะลอการสร้างนวัตกรรมสู่ตลาด แต่ในขณะเดียวกันหากภาครัฐยังคงลังเลไม่แน่ใจโดยไม่มีนโยบายอะไรออกมาเลย การแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างไม่มีข้อจำกัดใดๆ ที่ชัดเจนทางกฎหมาย อาจนำไปสู่การฟ้องร้องจำนวนมากก็ไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาเช่นกัน รัฐควรต้องเริ่มมีนโยบายให้ชัดเจนในเรื่องนี้ในระดับหนึ่งและพัมนาไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการใช้งานในทางปฏิบัติ
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561
มุมมองกฎหมายของดาวเทียมสำรวจข้อมูลพื้นโลก
การสำรวจโลก รวมทั้งทะเลและชั้นบรรยากาศของโลกถือว่าเป็นประโยชน์ของกิจกรรมอวกาศที่ดำเนินการโดยมนุษย์ การใช้งานในลักษณะดังกล่าวเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาจากการสอดส่องภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์มาเป็นการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ในการพัฒนาการทำเกษตรกรรม การขุดเหมืองแร่ การพัฒนาอุตสาหกรรมและผังเมือง การควบคุมสิ่งแวดล้อม และการทหารเพื่อสันติ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าของระดับความละเอียดและชัดเจนของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกลประกอบกับการเปิดตลาดในเชิงพาณิชย์ในเรื่องการใช้ประโยชน์สารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ด้วยความใหม่ในการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมยังขาดกรอบกฎหมายในการควบคุมและกำกับดูแลที่ชัดเจน ในบริบทระดับระหว่างประเทศนั้น การกำกับดูแลการใช้ข้อมูลจากอวกาศยังคงแตกต่างกัน หลักเกณฑ์และหลักการที่มีในระดับระหว่างประเทศไม่มีความชัดเจนตั้งแต่นิยามความหมายและปล่อยให้มีการตีความที่ขัดแย้งกันค่อนข้างมากในเรื่องนี้ รวมทั้งประเด็นเรื่องข้อจำกัดในประเด็นเรื่องอาณาเขตของประเทศ ประเภทของกิจกรรม หรือประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินการ เป็นต้น
สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 (Outer Space Treaty)
กรอบกฎหมายพื้นฐานสำหรับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญาอวกาศซึ่งทุกประเทศสำคัญในกิจการอวกาศได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก มาตรา 1 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดว่าเสรีภาพในการสำรวจและใช้ประโยชน์ในห้วงอวกาศโดยทุกรัฐ รวมทั้งดาวเทียมสำรวจระยะไกล มาตรา 2 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดหลักการห้ามยึดครอง (non-appropriation principle) ที่มีผลต่อรัฐในการดำเนินกิจกรรมอวกาศ ทั้งสองมาตราสร้างความชัดเจนว่าข้อจำกัดต่อเสรีภาพของการสำรวจและการใช้ประโยชน์ห้วงอากาศถูกกำหนดในระดับระหว่างประเทศในรูปของสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรืออาจเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญา นอกจากนี้ มาตรา 3 ของสนธิสัญญายังกำหนดให้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปมีผลใช้บังคับกับการดำเนินการในห้วงอวกาศโดยเฉพาะหลักการทั่วไปเช่นเสรีภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากห้วงอวกาศด้วย
ข้อมติองการสหประชาชาติที่ 41/65 (UN Resolution)
ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับการสำรวจระยะไกลบนโลกจากอวกาศ (The United Nations Declaration on Principles Relating to Remote Sensing of the Earth from Outer Space) ข้อมติที่ 41/65 ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1986 วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจระยะไกลไว้ ข้อมติได้รับการรับรองจากการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติที่แม้จะมิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายห็ตาม แต่หลายครั้งที่ผ่านมาได้สะท้อนในฐานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ข้อมติที่ 41/65 ได้รับการรับรองโดยเอกฉันท์และถือว่ามีนำ้หนักอย่างมากในเชิงการเมืองและศีลธรรมในเวทีระหว่างประเทศ เพราะข้อมติดังกล่าวอาจถือว่าสามารถพัฒนากลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในแง่ของพันธกรณีที่ผูกพันรัฐที่เกี่ยวข้องคือหลักการข้อ 10 ที่กำหนดว่าความจำเป็นของรัฐในการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อมโลกไปยังรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง และหลักการข้อ 11 เรียกร้องให้รัฐที่ครอบครองข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติตามธรรมชาติมีหน้าที่แจ้งรัฐอื่นอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ หลักการข้อ 8 เพิ่มบทบาทขององค์การสหประชาชาติให้ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการช่วยเหลือทางเทคนิคและการประสานงานในเรื่องการสำรวจข้อมูลระยะไกลด้วย
การเข้าถึงข้อมูล
หลักการสำคัญในข้อมติที่ 41/65 กล่าวถึงประเด็นการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสำรวจข้อมูลระยะไกลในการบริหารการใช้ที่ดินโดยรัฐบาล หลักการในข้อที่ 6 กำหนดว่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวต้องคำนึงถึงอธิปไตยของประเทศที่ถูกสำรวจระยะไกล (sensed state) และหลักการข้อที่ 5 เรียกร้องให้เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือกับรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลบนพื้นฐานของเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน และหลักการข้อที่ 7 กำหนดให้รัฐที่ทำการสำรวจระยะไกล (sensing state) ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคที่มีแก่รัฐที่สนใจบนเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หลักการข้อที่ 12 กำหนดว่าสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ของรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลต้องอยู่บนพื้นฐานไม่เลือกปฏิบัติและค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐที่ทำการสำรวจระยะไกลจะผ่านเงื่อนไขทั้งสองหลักการดังกล่าวแล้วก็ตาม รัฐที่ทำการสำรวจระยะไกลมีดุลพินิจที่ยืดหยุ่นในการพิจารณาไม่อนุญาตรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลในข้อมูลบางประเภทก็ได้ ในประเด็นนี้ชัดเจนว่ารัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลไม่มีสิทธิในการเปิดกั้นการสำรวจระยะไกลสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศตนเองได้ และไม่มีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวหรือสิทธิพิเศษก่อนผู้อื่นในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เสรีภาพในการการเก็บรวบรวมข้อมูลเหนือกว่าหลักการอธิปไตยในการควบคุมข้อมูลภูมิประเทศตนเอง
การอนุวัตรการกฎหมายภายในประเทศ
จากกรอบกฎหมายระหว่างประเทศกล่าวมาแล้วข้างต้นถือว่าเป็นกรอบอย่างกว้างแม้จะระบุประเด็นทางกฎหมายจำนวนหนึ่ง แต่ในการใช้บังคับในทางปฏิบัติกับดาวเทียมสำรวจระยะไกลนั้นยังต้องการหักเกณฑ์ที่ชัดเจนในรายละเอียดอีกจำนวนหนึ่งในหลายประเด็น เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูลดาวเทียม (ลิขสิทธิ์) การชดเชยในความเสียหายที่เกิดจากการอ่านข้อมูลผิดพลาด คุณค่าของข้อมูลในเชิงพยานหลักฐานในชั้นศาล เป็นต้น ซึ่งประเด็นที่กล่าวมานั้นเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายที่แต่ละประเทศอาจมีหลักการและแนวคิดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในบทความนี้จะเน้นเฉพาะหลักการเรื่องความรับผิดชอบระหว่างประเทศและความรับผิดระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาอวกาศโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างรัฐบาล (inter-government organization) และหน่วยงานภาคเอกชนในฐานะที่เป็นผู้เล่นสำคัญนอกเหนือจากรัฐ ประการแรกในมาตรา 6 ของสนธิสัญญาอวกาศที่ระบุหลักการความรับผิดชอบระหว่างของกิจกรรมแห่งชาติที่ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลและต้องประกันว่ากิจกรรมดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และประการที่สอง ตามมาตรา 7 ของสนธิสัญญาอวกาศและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดปี ค.ศ. 1972 ที่กำหนดหลักความรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ทั้งสองหลักการนี้มุ่งเน้นเป้นภาระหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้ดำเนินการกิจกรรมอวกาศเป็นหลัก
บทบาทขององค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาล
บทบาทขององค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาลส่งผลให้เกิดผลกระทบที่กว้างขวางในประเด็นหลักความรับผิดชอบ (responsibility) และความรับผิด (liability) ตามหลักความรับผิดชอบระหว่างประเทศ ใช้บังคับเมื่อกิจกรรมที่ดำเนินการในอวกาศโดยองค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาล แม้ว่าในกรณีดังกล่าวจำเป็นความรับผิดชอบร่วมกันขององค์การระหว่างรัฐบาลเอง รัฐในองค์การระหว่างรัฐบาลดังกล่าวต้องไม่ปกปิดการดำเนินการในกิจกรรมสำรวจระยะไกลที่ละเมิดหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับระหว่างประเทศ โดยถือเป็นหนัาที่และความรับผิดชอบในการประกันว่าองค์การระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ดำเนินการใดๆอันเป็นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนความรับผิดระหว่างประเทศนั้น ตามอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด ค.ศ. 1972 องค์การระหว่างรัฐบาลมีิสถานะลำดับรองที่จะต้องรับผิดในบางขอบเขต รัฐสมาชิกจะมีความรับผิดโดยตรงก่อน และในลักษณะเดียวกับหลักการในอนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียน ค.ศ. 1975 ที่อนุญาตให้องค์การระหว่างรัฐบาลมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดาวเทียมและดำเนินการร่วมกันกับรัฐอื่นได้ ตัวอย่างเช่น องค์การอวกาศแห่งยุโรป (European Space Agency หรือ ESA) มีสิทธิได้รับสถานะเช่นว่านั้น
การใช้งานเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน
ในการใช้งานเชิงพาณิชย์และความเกี่ยวข้องของภาคเอกชนในกิจกรรมการสำรวจข้อมูลระยะไกลมีประเด็นปัญหาหลายประการ ตั้งแต่เรื่องการอนุญาตและการรับรอง เนื่องจากหลักการกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดหลักการในเรื่องความรับผิดชอบ (responsibility) และความรับผิด (liability) ที่เกิดจากกิจกรรมอวกาศที่ดำเนินการโดยเอกชน ดังนั้น มีความจำเป็นสำหรับรัฐในการออกกฎหมายเพื่ออนุวัตรการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ที่ผ่านมามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ออกกฎหมายในเรื่องนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ สวีเดน สหราชอาณาจักร รัสเซีย แอฟริกาใต้ ยูเครน ออสเตรเลีย และบราซิล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเทศ อาร์เจนติน่า แคนาดา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นที่มีกฎหมายภายในประเทศที่ใกล้เคียงแต่ถือว่ายังไม่มีการควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมอวกาสที่ดำเนินการโดยเอกชนอย่างเหมาะสม จึงถือว่าในเรื่องนี้ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศต่างๆเข้าใจและเห็นถึงความจำเป้นในการมีหลักเกณฑท์ทางกฎหมายที่ชัดเจนและโปร่งใสในเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อให้การควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมอวกาศของภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บทสรุป
กรอบกฎหมายระหว่างประเทศหลักที่เกี่ยวข้องในเรื่องการสำรวจข้อมูลพื้นโลกได้วางหลักการและเงื่อนไขสำหรับกิจกรรมในการเก้บรวบรวมและใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม ในขณะที่กรอบกฎหมายภายในประเทศโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับภาคเอกชนนั้นมีการกำหนดในรายละเอียดในการกำกับดูแล คำถามที่เกิดขึ้นคือผลกระทบที่อาจเกิดจากการบังคับใช้ในประเด็นที่เกี่ยวกับอวกาศอันเป็นประเด็นระหว่างประเทศ เช่น การใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจ ซึ่งแม้ในทางปฏิบัติยังไม่ค่อยมีปรากฎข้อพิพาท ทำให้ยากในการประเมินผลกระทบดังกล่าว ตัวอย่างเช่น วิธีการในการกำหนดความรับผิดและจัดการกับแนวทางที่แตกต่างกันในการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจ หรือวิธีการสร้างสมดุลในการกำหนดสิทธิของเจ้าของดาวเทียมและเจ้าของข้อมูลในประเด็นเรื่องข้อมูลที่ได้มาจากดาวเทียมสำรวจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังคงไม่มีความชัดเจนในทางกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ด้วยความใหม่ในการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมยังขาดกรอบกฎหมายในการควบคุมและกำกับดูแลที่ชัดเจน ในบริบทระดับระหว่างประเทศนั้น การกำกับดูแลการใช้ข้อมูลจากอวกาศยังคงแตกต่างกัน หลักเกณฑ์และหลักการที่มีในระดับระหว่างประเทศไม่มีความชัดเจนตั้งแต่นิยามความหมายและปล่อยให้มีการตีความที่ขัดแย้งกันค่อนข้างมากในเรื่องนี้ รวมทั้งประเด็นเรื่องข้อจำกัดในประเด็นเรื่องอาณาเขตของประเทศ ประเภทของกิจกรรม หรือประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินการ เป็นต้น
สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 (Outer Space Treaty)
กรอบกฎหมายพื้นฐานสำหรับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญาอวกาศซึ่งทุกประเทศสำคัญในกิจการอวกาศได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก มาตรา 1 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดว่าเสรีภาพในการสำรวจและใช้ประโยชน์ในห้วงอวกาศโดยทุกรัฐ รวมทั้งดาวเทียมสำรวจระยะไกล มาตรา 2 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดหลักการห้ามยึดครอง (non-appropriation principle) ที่มีผลต่อรัฐในการดำเนินกิจกรรมอวกาศ ทั้งสองมาตราสร้างความชัดเจนว่าข้อจำกัดต่อเสรีภาพของการสำรวจและการใช้ประโยชน์ห้วงอากาศถูกกำหนดในระดับระหว่างประเทศในรูปของสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรืออาจเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญา นอกจากนี้ มาตรา 3 ของสนธิสัญญายังกำหนดให้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปมีผลใช้บังคับกับการดำเนินการในห้วงอวกาศโดยเฉพาะหลักการทั่วไปเช่นเสรีภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากห้วงอวกาศด้วย
ข้อมติองการสหประชาชาติที่ 41/65 (UN Resolution)
ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับการสำรวจระยะไกลบนโลกจากอวกาศ (The United Nations Declaration on Principles Relating to Remote Sensing of the Earth from Outer Space) ข้อมติที่ 41/65 ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1986 วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจระยะไกลไว้ ข้อมติได้รับการรับรองจากการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติที่แม้จะมิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายห็ตาม แต่หลายครั้งที่ผ่านมาได้สะท้อนในฐานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ข้อมติที่ 41/65 ได้รับการรับรองโดยเอกฉันท์และถือว่ามีนำ้หนักอย่างมากในเชิงการเมืองและศีลธรรมในเวทีระหว่างประเทศ เพราะข้อมติดังกล่าวอาจถือว่าสามารถพัฒนากลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในแง่ของพันธกรณีที่ผูกพันรัฐที่เกี่ยวข้องคือหลักการข้อ 10 ที่กำหนดว่าความจำเป็นของรัฐในการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อมโลกไปยังรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง และหลักการข้อ 11 เรียกร้องให้รัฐที่ครอบครองข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติตามธรรมชาติมีหน้าที่แจ้งรัฐอื่นอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ หลักการข้อ 8 เพิ่มบทบาทขององค์การสหประชาชาติให้ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการช่วยเหลือทางเทคนิคและการประสานงานในเรื่องการสำรวจข้อมูลระยะไกลด้วย
การเข้าถึงข้อมูล
หลักการสำคัญในข้อมติที่ 41/65 กล่าวถึงประเด็นการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสำรวจข้อมูลระยะไกลในการบริหารการใช้ที่ดินโดยรัฐบาล หลักการในข้อที่ 6 กำหนดว่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวต้องคำนึงถึงอธิปไตยของประเทศที่ถูกสำรวจระยะไกล (sensed state) และหลักการข้อที่ 5 เรียกร้องให้เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือกับรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลบนพื้นฐานของเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน และหลักการข้อที่ 7 กำหนดให้รัฐที่ทำการสำรวจระยะไกล (sensing state) ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคที่มีแก่รัฐที่สนใจบนเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หลักการข้อที่ 12 กำหนดว่าสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลภูมิศาสตร์ของรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลต้องอยู่บนพื้นฐานไม่เลือกปฏิบัติและค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐที่ทำการสำรวจระยะไกลจะผ่านเงื่อนไขทั้งสองหลักการดังกล่าวแล้วก็ตาม รัฐที่ทำการสำรวจระยะไกลมีดุลพินิจที่ยืดหยุ่นในการพิจารณาไม่อนุญาตรัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลในข้อมูลบางประเภทก็ได้ ในประเด็นนี้ชัดเจนว่ารัฐที่ถูกสำรวจระยะไกลไม่มีสิทธิในการเปิดกั้นการสำรวจระยะไกลสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศตนเองได้ และไม่มีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวหรือสิทธิพิเศษก่อนผู้อื่นในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เสรีภาพในการการเก็บรวบรวมข้อมูลเหนือกว่าหลักการอธิปไตยในการควบคุมข้อมูลภูมิประเทศตนเอง
การอนุวัตรการกฎหมายภายในประเทศ
จากกรอบกฎหมายระหว่างประเทศกล่าวมาแล้วข้างต้นถือว่าเป็นกรอบอย่างกว้างแม้จะระบุประเด็นทางกฎหมายจำนวนหนึ่ง แต่ในการใช้บังคับในทางปฏิบัติกับดาวเทียมสำรวจระยะไกลนั้นยังต้องการหักเกณฑ์ที่ชัดเจนในรายละเอียดอีกจำนวนหนึ่งในหลายประเด็น เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูลดาวเทียม (ลิขสิทธิ์) การชดเชยในความเสียหายที่เกิดจากการอ่านข้อมูลผิดพลาด คุณค่าของข้อมูลในเชิงพยานหลักฐานในชั้นศาล เป็นต้น ซึ่งประเด็นที่กล่าวมานั้นเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายที่แต่ละประเทศอาจมีหลักการและแนวคิดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในบทความนี้จะเน้นเฉพาะหลักการเรื่องความรับผิดชอบระหว่างประเทศและความรับผิดระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาอวกาศโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างรัฐบาล (inter-government organization) และหน่วยงานภาคเอกชนในฐานะที่เป็นผู้เล่นสำคัญนอกเหนือจากรัฐ ประการแรกในมาตรา 6 ของสนธิสัญญาอวกาศที่ระบุหลักการความรับผิดชอบระหว่างของกิจกรรมแห่งชาติที่ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลและต้องประกันว่ากิจกรรมดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และประการที่สอง ตามมาตรา 7 ของสนธิสัญญาอวกาศและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดปี ค.ศ. 1972 ที่กำหนดหลักความรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ทั้งสองหลักการนี้มุ่งเน้นเป้นภาระหน้าที่ของรัฐในฐานะผู้ดำเนินการกิจกรรมอวกาศเป็นหลัก
บทบาทขององค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาล
บทบาทขององค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาลส่งผลให้เกิดผลกระทบที่กว้างขวางในประเด็นหลักความรับผิดชอบ (responsibility) และความรับผิด (liability) ตามหลักความรับผิดชอบระหว่างประเทศ ใช้บังคับเมื่อกิจกรรมที่ดำเนินการในอวกาศโดยองค์การความร่วมมือระหว่างรัฐบาล แม้ว่าในกรณีดังกล่าวจำเป็นความรับผิดชอบร่วมกันขององค์การระหว่างรัฐบาลเอง รัฐในองค์การระหว่างรัฐบาลดังกล่าวต้องไม่ปกปิดการดำเนินการในกิจกรรมสำรวจระยะไกลที่ละเมิดหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับระหว่างประเทศ โดยถือเป็นหนัาที่และความรับผิดชอบในการประกันว่าองค์การระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ดำเนินการใดๆอันเป็นละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนความรับผิดระหว่างประเทศนั้น ตามอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด ค.ศ. 1972 องค์การระหว่างรัฐบาลมีิสถานะลำดับรองที่จะต้องรับผิดในบางขอบเขต รัฐสมาชิกจะมีความรับผิดโดยตรงก่อน และในลักษณะเดียวกับหลักการในอนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียน ค.ศ. 1975 ที่อนุญาตให้องค์การระหว่างรัฐบาลมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดาวเทียมและดำเนินการร่วมกันกับรัฐอื่นได้ ตัวอย่างเช่น องค์การอวกาศแห่งยุโรป (European Space Agency หรือ ESA) มีสิทธิได้รับสถานะเช่นว่านั้น
การใช้งานเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน
ในการใช้งานเชิงพาณิชย์และความเกี่ยวข้องของภาคเอกชนในกิจกรรมการสำรวจข้อมูลระยะไกลมีประเด็นปัญหาหลายประการ ตั้งแต่เรื่องการอนุญาตและการรับรอง เนื่องจากหลักการกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดหลักการในเรื่องความรับผิดชอบ (responsibility) และความรับผิด (liability) ที่เกิดจากกิจกรรมอวกาศที่ดำเนินการโดยเอกชน ดังนั้น มีความจำเป็นสำหรับรัฐในการออกกฎหมายเพื่ออนุวัตรการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ที่ผ่านมามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ออกกฎหมายในเรื่องนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ สวีเดน สหราชอาณาจักร รัสเซีย แอฟริกาใต้ ยูเครน ออสเตรเลีย และบราซิล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเทศ อาร์เจนติน่า แคนาดา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นที่มีกฎหมายภายในประเทศที่ใกล้เคียงแต่ถือว่ายังไม่มีการควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมอวกาสที่ดำเนินการโดยเอกชนอย่างเหมาะสม จึงถือว่าในเรื่องนี้ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศต่างๆเข้าใจและเห็นถึงความจำเป้นในการมีหลักเกณฑท์ทางกฎหมายที่ชัดเจนและโปร่งใสในเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อให้การควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมอวกาศของภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บทสรุป
กรอบกฎหมายระหว่างประเทศหลักที่เกี่ยวข้องในเรื่องการสำรวจข้อมูลพื้นโลกได้วางหลักการและเงื่อนไขสำหรับกิจกรรมในการเก้บรวบรวมและใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียม ในขณะที่กรอบกฎหมายภายในประเทศโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับภาคเอกชนนั้นมีการกำหนดในรายละเอียดในการกำกับดูแล คำถามที่เกิดขึ้นคือผลกระทบที่อาจเกิดจากการบังคับใช้ในประเด็นที่เกี่ยวกับอวกาศอันเป็นประเด็นระหว่างประเทศ เช่น การใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจ ซึ่งแม้ในทางปฏิบัติยังไม่ค่อยมีปรากฎข้อพิพาท ทำให้ยากในการประเมินผลกระทบดังกล่าว ตัวอย่างเช่น วิธีการในการกำหนดความรับผิดและจัดการกับแนวทางที่แตกต่างกันในการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจ หรือวิธีการสร้างสมดุลในการกำหนดสิทธิของเจ้าของดาวเทียมและเจ้าของข้อมูลในประเด็นเรื่องข้อมูลที่ได้มาจากดาวเทียมสำรวจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังคงไม่มีความชัดเจนในทางกฎหมาย
เขตอำนาจรัฐในห้วงอวกาศ
"เขตอำนาจรัฐ" (Jurisdiction) เป็นข้อความคิดทางนิติศาสตร์ที่ใช้ในการอธิบายสิทธิของรัฐในการดำเนินการ เช่น การออกกฎหมายหรือคำสั่งและบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงบุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์เป็นการเฉพาะ ในตอนเริ่มแรกนั้น หลักเขตอำนาจรัฐคืออาณาเขตของรัฐเป็นหลัก ซึ่งมาจากความเชื่อว่าอำนาจของรัฐในการกระทำอยู่ภายในขอบเขตแดนของรัฐถือเป็นเด็ดขาดและสมบูรณ์ โดยไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดที่ไม่ได้กำหนดโดยรัฐนั้นเอง แต่การกระทำของรัฐในการจำกัดอำนาจรัฐของตนเองภายในอาณาเขตนั้นพบน้อยมาก ดังนั้น ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ
เขตอำนาจรัฐในทางกฎหมายระหว่างประเทศหมายความถึง อำนาจของรัฐในการใช้อำนาจอธิปไตย (sovereignty) และการเป็นผู้มีอำนาจ (authority) และอิงบนหลักการของความมีประสิทธิภาพ เขตอำนาจรัฐอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบและขอบเขตอาจแตกต่างกันในแต่ละบริบท เขตอำนานรัฐมักเกี่ยวข้องทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศของแต่ละรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดข้อจำกัดที่สามารถยินยอมได้ของรัฐในเขตอำนาจรัฐนั้นในหลากหลายรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น ส่วนกฎหมายภายในประเทศอธิบายขอบเขตและลักษณะที่รัฐอ้างยืนยันเขตอำนาจรัฐของตน
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิของรัฐในการใช้เขตอำนาจรัฐอ้างอิงจากอธิปไตยของรัฐ เมื่อมีการใช้เขตอำนาจรัฐที่มีผลกระทบผลประโยชน์ของรัฐอื่น ความทับซ้อนดังกล่าวในเขตอำนาจรัฐจะต้องมีการประสานงานระหว่างกัน กฎหมายระหว่างประเทศภาคเอกชนจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาประเภทดังกล่าว โดยทั่วไป มีแนวโน้มในปัจจุบันว่าหลักการอย่างกว้างตามสิทธิในการใช้เขตอำนาจรัญขึ้นอยู่กับการเป็นประเด็นของเรื่อง (subject matter) และรัฐใช้ในฐานะผู้มีอำนาจที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดเพียงพอในการแสดงให้เห็นเหตุผลอันสมควรว่ารัฐอยู่ในฐานะควบคุมกำกับดูแลประเด็นดังกล่าวได้
สำหรับในเขตอำนาจรัฐในทะเลหรือบนห้วงอากาศ กล่าวคือแม้ว่าทะเลหลวง (high sea) จะไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของรัฐใดและดังนั้นขึงไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของเขตอำนาจรัฐใด อย่างไรก็ตาม รัฐยังคงมีสิทธิในเขตอำนาจรัฐบางประการเหนือบุคคลและสิ่งของที่อยู่ในทะเลหลวง หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในทะเลหลวงอิงหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดให้เรือทุกลำที่ใช้เดินทางในทะเลหลวงมีสัญชาติและติดธงของรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าเรือและบุคคลและสิ่งของบนเรือต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของธง และถือว่าอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐของรัฐดังกล่าวโดยเด็ดขาดเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐที่กำหนดเงื่อนไขในการให้สัญชาติและรับจดทะเบียนเรือภายในอาณาเขตและสำหรับสิทธิของเรือในการชักธง จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงอย่างแท้จริงระหว่างรัฐและประเด็นของเรื่อง
ในทพนองเดียวกัน อากาศยานก็ต้องมีสัญชาติที่แสดงเป็นนัยว่าเป็นสิทธิตามเขตอำนาจรัฐและการได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 17 ของอนุสัญญาชิคาโก้ที่กำหนดว่าอากาศยานมีสัญชาติของรัฐที่จดทะเบียนและเงื่อนไขของการจดทะเบียนขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง อากาศยานไม่สามารถจดทะเบียนโดยชอบได้มากกว่าหนึ่งรัฐ ทุกอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศระหว่างประเทศถูกกำหนดให้มีสัญชาติที่เหมาะสมและเครื่องหมายจดทะเบียน แต่ในกิจการอวกาศนั้น เขตอำนาจรัฐมีความหมายนัยเฉพาะและมีความหมายที่แตกต่างออกไป ในกิจการอวกาศ หลักการไม่สามารถยึดครองอวกาศได้ (non-appropriation principle) เหนือกว่าและอ้างอิงไปว่ารัฐไม่สามรถอ้างอธิปไตยเหนืออวกาศได้ จึงทำให้อวกาศมีสถานะเป็นสมบัติร่วมกันของมวลมนุษยชาติ (res communis omnium)
สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 ที่เริ่มระบุหลักเกณฑ์กำกับดูแลปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐในห้วงอวกาศ และกำหนดว่าการใช้และการสำรวจอวกาศเป็นอาณาเขตหนึ่งของมวลมมนุษยชาติ (province of all mankind) ซึ่งปรากฎในมาตรา 1 ของสนธิสัญยาอวกาศ ดังนั้น สนธิสัญญาอวกาศจึงวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมอวกาศซึ่งดำเนินการอยู่นอกเขตอำนาจรัฐเชิงอาณาเขตและไม่มีรัฐใดสามารถใช้สิทธิอธิปไตยเหนืออวกาศได้ แต่ก็ไม่ได้ห้ามรัฐในการใช้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมเหนือวัตถุและบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมในห้วงอวกาศ ดัวยเหตุดังกล่าว จึงมีความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและวัตถุอวกาศหรือบุคคลบนวัตถุอวกาศ โดยอนุญาตให้รัฐสามารถอ้างเขตอำนาจรัฐและอำนาจในการควบคุมในกิจกรรมแห่งชาติ (national activity) ที่ดำเนินการในอวกาศได้ โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับพันธกรณีและหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาอวกาศ
เขตอำนาจรัฐในทางกฎหมายระหว่างประเทศหมายความถึง อำนาจของรัฐในการใช้อำนาจอธิปไตย (sovereignty) และการเป็นผู้มีอำนาจ (authority) และอิงบนหลักการของความมีประสิทธิภาพ เขตอำนาจรัฐอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบและขอบเขตอาจแตกต่างกันในแต่ละบริบท เขตอำนานรัฐมักเกี่ยวข้องทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศของแต่ละรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดข้อจำกัดที่สามารถยินยอมได้ของรัฐในเขตอำนาจรัฐนั้นในหลากหลายรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น ส่วนกฎหมายภายในประเทศอธิบายขอบเขตและลักษณะที่รัฐอ้างยืนยันเขตอำนาจรัฐของตน
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิของรัฐในการใช้เขตอำนาจรัฐอ้างอิงจากอธิปไตยของรัฐ เมื่อมีการใช้เขตอำนาจรัฐที่มีผลกระทบผลประโยชน์ของรัฐอื่น ความทับซ้อนดังกล่าวในเขตอำนาจรัฐจะต้องมีการประสานงานระหว่างกัน กฎหมายระหว่างประเทศภาคเอกชนจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาประเภทดังกล่าว โดยทั่วไป มีแนวโน้มในปัจจุบันว่าหลักการอย่างกว้างตามสิทธิในการใช้เขตอำนาจรัญขึ้นอยู่กับการเป็นประเด็นของเรื่อง (subject matter) และรัฐใช้ในฐานะผู้มีอำนาจที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดเพียงพอในการแสดงให้เห็นเหตุผลอันสมควรว่ารัฐอยู่ในฐานะควบคุมกำกับดูแลประเด็นดังกล่าวได้
สำหรับในเขตอำนาจรัฐในทะเลหรือบนห้วงอากาศ กล่าวคือแม้ว่าทะเลหลวง (high sea) จะไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของรัฐใดและดังนั้นขึงไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของเขตอำนาจรัฐใด อย่างไรก็ตาม รัฐยังคงมีสิทธิในเขตอำนาจรัฐบางประการเหนือบุคคลและสิ่งของที่อยู่ในทะเลหลวง หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในทะเลหลวงอิงหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดให้เรือทุกลำที่ใช้เดินทางในทะเลหลวงมีสัญชาติและติดธงของรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าเรือและบุคคลและสิ่งของบนเรือต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐเจ้าของธง และถือว่าอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐของรัฐดังกล่าวโดยเด็ดขาดเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐที่กำหนดเงื่อนไขในการให้สัญชาติและรับจดทะเบียนเรือภายในอาณาเขตและสำหรับสิทธิของเรือในการชักธง จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงอย่างแท้จริงระหว่างรัฐและประเด็นของเรื่อง
ในทพนองเดียวกัน อากาศยานก็ต้องมีสัญชาติที่แสดงเป็นนัยว่าเป็นสิทธิตามเขตอำนาจรัฐและการได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 17 ของอนุสัญญาชิคาโก้ที่กำหนดว่าอากาศยานมีสัญชาติของรัฐที่จดทะเบียนและเงื่อนไขของการจดทะเบียนขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง อากาศยานไม่สามารถจดทะเบียนโดยชอบได้มากกว่าหนึ่งรัฐ ทุกอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศระหว่างประเทศถูกกำหนดให้มีสัญชาติที่เหมาะสมและเครื่องหมายจดทะเบียน แต่ในกิจการอวกาศนั้น เขตอำนาจรัฐมีความหมายนัยเฉพาะและมีความหมายที่แตกต่างออกไป ในกิจการอวกาศ หลักการไม่สามารถยึดครองอวกาศได้ (non-appropriation principle) เหนือกว่าและอ้างอิงไปว่ารัฐไม่สามรถอ้างอธิปไตยเหนืออวกาศได้ จึงทำให้อวกาศมีสถานะเป็นสมบัติร่วมกันของมวลมนุษยชาติ (res communis omnium)
สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 ที่เริ่มระบุหลักเกณฑ์กำกับดูแลปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐในห้วงอวกาศ และกำหนดว่าการใช้และการสำรวจอวกาศเป็นอาณาเขตหนึ่งของมวลมมนุษยชาติ (province of all mankind) ซึ่งปรากฎในมาตรา 1 ของสนธิสัญยาอวกาศ ดังนั้น สนธิสัญญาอวกาศจึงวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมอวกาศซึ่งดำเนินการอยู่นอกเขตอำนาจรัฐเชิงอาณาเขตและไม่มีรัฐใดสามารถใช้สิทธิอธิปไตยเหนืออวกาศได้ แต่ก็ไม่ได้ห้ามรัฐในการใช้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมเหนือวัตถุและบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมในห้วงอวกาศ ดัวยเหตุดังกล่าว จึงมีความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและวัตถุอวกาศหรือบุคคลบนวัตถุอวกาศ โดยอนุญาตให้รัฐสามารถอ้างเขตอำนาจรัฐและอำนาจในการควบคุมในกิจกรรมแห่งชาติ (national activity) ที่ดำเนินการในอวกาศได้ โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับพันธกรณีและหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาอวกาศ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)