ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงของชาติมักให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศด้านการทหาร อาวุธนิวเครียส์ และภับคุกคามจากไซเบอร์ ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญกับการกำหนดขอบเขตและระบุถึงความมั่นคงของชาติ แต่รัฐในฐานะประเทศชาติควรพิจารณาทบทวนรวบรวมความกังวลภัยคุกคามภายในประเทศ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การควบคุมสภาพอากาศ และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่เชื่อมโยงเป็นระบบและผุพังอาจเป็นความกังวลที่ต้องกลับมาพิจารณาทบทวน
การเปิดเผยและกำหนดขอบเขตนิยามของโครงสร้างพื้นฐานมีความสำค้ญต่ออนาคตของประเทศในการเข้าใจความคาดหวังและข้อจำกัด ที่ผ่านมา การเกิดสงครามกลางเมืองเป็นข้อโต้แย้งที่ว่าความมั่นคงของชาติควรตีความแบบกว้างหรือแบบแคบ ตามแนวทางดั้งเดิม คำว่า "ความมั่นคงของชาติ" ประเทศส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศหรือภัยคุกคามด้านการทหาร แต่การตีความเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยมีการเริ่มขยายความหรือขยายขอบเขตนิยามของความมั่นคงของชาติให้กว้างขึ้นหลังการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามประเทสภายใหม่ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติที่ชาวอเมริกาต้องเผชิญ
ปัจจุบันนี้ ความมั่นคงของชาติได้รับการนิยามอย่างหลวมๆ และมีความหลากหลายของประเภทความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของประเทศนั้น ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy หรือ NSS) ในศตวรรษที่ 21 โดยนิยามความมั่นคงของชาติหมายความรวมถึง ความมั่นคงทางการทหาร ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และชีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นิยามที่ขยายดังกล่าวของความมั่นคงของชาติเสริมรับกับความพยายามของสหรับอเมริกาในการรวบรวมความมั่นคงมาตุภูมิกับความมั่นคงของชาติเข้าด้วยกัน โดยให้มีการสอดประสานอย่างไร้รอยต่อระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกลาง มลรัฐและท้องถิ่นในการป้องกัน ปกป้อง และตอบสนองต่อภัยคุกคามและภัยพิบัติตามธรรมชาติ การรวมดังกล่าวปรากฎในคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ
ในวันที่ 16 มีนาคม 2012 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งระบุว่าสหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถพื้นฐานหลักด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการป้องกันประเทศและสามารถในการเสริมสร้างความเหนือชั้นทางด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์การป้องกันประเทศในช่วงสันติสุขและในช่วงภาวะฉุกเฉินได้ นิยามของการป้องกันประเทศระบุในข้อ 801(j) ว่า การป้องกันประเทศหมายถึงโครงการสำหรับการผลิตหรือสร้างทางการทหารและพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางทหารและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด (critical infrasrtucture) ที่สนับสนุนต่อประเทศอื่น ความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ การเก็บรักษาอาวุธและทรัพยากร กิจกรรมอวกาศและอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งตามนิยามดังกล่าว สหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถในการจัดให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ระบบการเงินที่ให้บริการตลอดเวลาเพื่อเชื่อมโยงสื่อกลางทั่วโลก โรงงานพลังงานและโครงข่ายพลังงาน ท่อส่งก๊าซและน้ำมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงกลั่นน้ำมันและเคมี ระบบขนส่ง และการสื่อสารทางการทหาร
โครงสร้างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้สองประเภทคือทางกายภาพและทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการขั้นต่ำของเศรษฐกิจและรัฐบาล เช่นกรณีของพายุเฮอร์ริเคนคาตีน่าได้ก่อให้เกิดการพังทลายอย่างมากมายและสูญเสียชีวิตเป็นตัวอย่างที่ดีของการสูญเสียอขงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและความจำเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ฟื้นตัวได้ดี นอกจากนี้ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือการโจมตีทางออนไลน์ต่อโครงสร้างพื้นฐานกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการดำเนินการโดยผู้ก่อการร้าย เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเชื่อมโยงของโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ปัจจุบันผ่านหรืออิงระบบไซเบอร์ซึ่งมีความอ่อนแอหรือจุดอ่อนมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา แฮ็กเกอร์ต่างชาติได้ขโมยโค้ดและแผนผังของโครงข่ายท่อส่งน้ำมันและประปา รวมทั้งโครงข่ายส่งไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาและเจาะเข้าระบบโครงข่ายกระทรวงพลังงานมากกว่า 150 ครั้ง
การเปิดเผยและกำหนดขอบเขตนิยามของโครงสร้างพื้นฐานมีความสำค้ญต่ออนาคตของประเทศในการเข้าใจความคาดหวังและข้อจำกัด ที่ผ่านมา การเกิดสงครามกลางเมืองเป็นข้อโต้แย้งที่ว่าความมั่นคงของชาติควรตีความแบบกว้างหรือแบบแคบ ตามแนวทางดั้งเดิม คำว่า "ความมั่นคงของชาติ" ประเทศส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศหรือภัยคุกคามด้านการทหาร แต่การตีความเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยมีการเริ่มขยายความหรือขยายขอบเขตนิยามของความมั่นคงของชาติให้กว้างขึ้นหลังการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามประเทสภายใหม่ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติที่ชาวอเมริกาต้องเผชิญ
ปัจจุบันนี้ ความมั่นคงของชาติได้รับการนิยามอย่างหลวมๆ และมีความหลากหลายของประเภทความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของประเทศนั้น ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy หรือ NSS) ในศตวรรษที่ 21 โดยนิยามความมั่นคงของชาติหมายความรวมถึง ความมั่นคงทางการทหาร ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และชีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นิยามที่ขยายดังกล่าวของความมั่นคงของชาติเสริมรับกับความพยายามของสหรับอเมริกาในการรวบรวมความมั่นคงมาตุภูมิกับความมั่นคงของชาติเข้าด้วยกัน โดยให้มีการสอดประสานอย่างไร้รอยต่อระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกลาง มลรัฐและท้องถิ่นในการป้องกัน ปกป้อง และตอบสนองต่อภัยคุกคามและภัยพิบัติตามธรรมชาติ การรวมดังกล่าวปรากฎในคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ
ในวันที่ 16 มีนาคม 2012 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งระบุว่าสหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถพื้นฐานหลักด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการป้องกันประเทศและสามารถในการเสริมสร้างความเหนือชั้นทางด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์การป้องกันประเทศในช่วงสันติสุขและในช่วงภาวะฉุกเฉินได้ นิยามของการป้องกันประเทศระบุในข้อ 801(j) ว่า การป้องกันประเทศหมายถึงโครงการสำหรับการผลิตหรือสร้างทางการทหารและพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางทหารและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด (critical infrasrtucture) ที่สนับสนุนต่อประเทศอื่น ความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ การเก็บรักษาอาวุธและทรัพยากร กิจกรรมอวกาศและอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งตามนิยามดังกล่าว สหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถในการจัดให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ระบบการเงินที่ให้บริการตลอดเวลาเพื่อเชื่อมโยงสื่อกลางทั่วโลก โรงงานพลังงานและโครงข่ายพลังงาน ท่อส่งก๊าซและน้ำมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงกลั่นน้ำมันและเคมี ระบบขนส่ง และการสื่อสารทางการทหาร
โครงสร้างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้สองประเภทคือทางกายภาพและทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการขั้นต่ำของเศรษฐกิจและรัฐบาล เช่นกรณีของพายุเฮอร์ริเคนคาตีน่าได้ก่อให้เกิดการพังทลายอย่างมากมายและสูญเสียชีวิตเป็นตัวอย่างที่ดีของการสูญเสียอขงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและความจำเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ฟื้นตัวได้ดี นอกจากนี้ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือการโจมตีทางออนไลน์ต่อโครงสร้างพื้นฐานกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการดำเนินการโดยผู้ก่อการร้าย เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเชื่อมโยงของโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ปัจจุบันผ่านหรืออิงระบบไซเบอร์ซึ่งมีความอ่อนแอหรือจุดอ่อนมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา แฮ็กเกอร์ต่างชาติได้ขโมยโค้ดและแผนผังของโครงข่ายท่อส่งน้ำมันและประปา รวมทั้งโครงข่ายส่งไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาและเจาะเข้าระบบโครงข่ายกระทรวงพลังงานมากกว่า 150 ครั้ง
การให้นิยามการป้องกันประเทศตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีว่าด้วยการเตรียมความพร้อมการป้องกันประเทศ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญเป็นเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดมาตรการป้องกัน ดังนั้น การสร้างหรือซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นและเชื่อมถือได้ในการต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากต่างชาติและภัยพิบัติตามธรรมชาติควรเพิ่มลำดับความสำคัญขึ้น และการส่งเสริมการเติบโตของประเทศ มุมมองในแง่ความก้าวหน้าของความมั่นคงของชาติควรสอดคล้องกับการให้ความสำคัญและเสริมสร้างรากฐานในทุกแง่มุมไม่ใช่เฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การควบคุมสภาพภูมิอากาศ การศึกษา และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานเป็นแหล่งหนึ่งที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศที่อยู่่ภายในประเทศ ด้วยการมีมาตรการเชิงป้องกันและการประกันว่าโครงสร้างพื้นฐานมีความน่าเชื่อถือได้ในการให้บริการในกรณีมีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายและภัยพิบัติจากธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น