วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กลยุทธ์การจัดการสื่อมวลชน

นอม ชอมสกี้ นักวิชาการชื่อดังระดับโลกได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการสื่อมวลชนเพื่อโฆษณาชวนเชื่อและชักจูงประชาชน ซึ่งในหนังสือได้ระบุว่าที่ผ่านมาในอดีต รัฐบาลหลายรัฐบาลได้กำหนดกลยุทธ์โฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพ และโดยที่นิยมใช้ในการบริหารสื่อมวลชนโดยมีวาระซ่อนเร้น ทั้งนี้เนื่องจากมาจากความเชื่อที่ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการบริหารความคิดเห็นของคนและสาธารณะชนอย่างสูง โดยสามารถสร้าง กระตุ้น ชะลอ หยุด หรือระงับการเคลื่อนไหวทางสังคม สามารถสนับสนุนให้เกิดสงครามที่ชอบธรรม วิกฤตการเงินชั่วคราว หรือกระตุ้นให้เกิดกระแสของอุดมการณ์ทางความคิดของสังคมได้ แม้ว่าปรากฏการณ์ของสื่อมวลชนในฐานะผู้ผลิตหรือสร้างความจริงภายจิตใจหรือชักจูงความคิดความเชื่อของคนหรือกลุ่มคนได้ แต่นักวิชาการยังคงหาวิธีการศึกษาและตรวจสอบกลยุทธ์ที่นิยมใช้ เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือทางจิตวิทยาเหล่านี้ ศาสตราจารย์นอม ชอมสกี้ได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่นิยมใช้และยอมรับว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยได้นำเสนอ 10 กลยุทธ์ที่นิยมใช้ ดังนี้
1. กลยุทธ์การหันเหความสนใจ  องค์ประกอบสำคัญของการควบคุมสังคมคือกลยุทธ์ในการสร้างกระแสหันเหความสนใจเพื่อให้สาธารณะชนสนใจไปทางอื่นโดยไม่สนใจหรือละเลยประเด็นสำคัญและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งมักถูกำหนดโดยชนชั้นนำทางการเมืองหรือกลุ่มกุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยเทคนิคของการปล่อยข้อมูลข่าวสารที่ไม่สำคัญทั่วไปเพื่อให้เกิดการหันเหความสนใจ กลยุทธ์นี้มีความจำเป็นในการป้องกันความสนใจของประชาชนในความรู้ประเด็นที่สำคัญที่อาจทำให้เกิดการลุกขึ้นมาต่อต้านหรือคัดค้าน การรักษาระดับของความสนใจของประชาชนให้หันเหจากปัญหาทางสังคมที่แท้จริงโดยให้สนใจกับประเด็นหรือสิ่งที่ไม่สำคัญ ทำให้ประชาชนยุ่งไม่มีเวลามาคิด
 2. กลยุทธ์สร้างประเด็น/ปัญหาใหม่ขึ้นมาแล้วนำเสนอการแก้ไขปัญหา วิธีการนี้มีสามขั้นตอนประกอบด้วย การสร้างปัญหา การตอบสนองต่อปัญหา และการจัดการแก้ไขปัญหา (problem -reaction- solution) การสร้างประเด็นปัญหาคือสถานการณ์ที่อ้างถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตอบสนองต่อปัญหา แล้วก็ดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันไปสนใจปัญหาใหม่และแนวทางการแก้ไขปัญหาว่าจะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาใหม่นั้นได้หรือไม่ และจะทำให้ประชาชนลืมหรือเลิกติดตามปัญหาเดิมที่แท้จริงไประยะหนึ่ง
3.  กลยุทธ์ค่อยสร้างระดับการยอมรับของประเด็นที่ไม่ยอมรับ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะค่อยๆดำเนินการปล่อยข้อมูลข่าวสาร โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอาจจะหลายปีติดต่อกัน มักจะใช้กับประเด็นปัญหาที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือการปฏิรูประบบราชการโดยการลดกำลังคน อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มค่าแรง เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์นี้นิยมใช้ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1992
4. กลยุทธ์ชะลอหรือดึงเวลา โดยเป็นวิธีการที่ยอมรับกับการตัดสินใจที่ไม่เป็นที่ถูกใจสาธารณชนเพราะนำเสนอทางเลือกที่เจ็บปวดแต่มีความจำเป็น เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในการบังคับใช้นโยบายหรือมาตรการดังกล่าวในอนาคตซึ่งจำเป็นต้องนำเสนอความคิดว่าเป็นการเสียสละในอนาคตเพื่อลดความเสียหายในปัจจุบัน ประการแรกเพราะความพยายามไม่ให้เกิดความเสียหายในปัจจุบัน สาธารณะชนมักมีแนวโน้มที่จะคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในอนาคต และทำให้ยอมรับการเสียสละที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ง่ายกว่า เจ็บปวดหรือเสียหายในปัจจุบัน โดยการให้สาธารณะมีเวลามากขึ้นในการคุ้นชินกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและยอมรับในที่สุดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้
5. กลยุทธ์นำเสนอสาธารณะในฐานะเด็กน้อย โดยการใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์กับสาธารณะด้วยน้ำเสียงแบบเด็กเพื่อปิดจุดอ่อน โดยให้ผู้ชมหรือผู้ฟังมีมุมมองว่าบริสุทธิ์ จะได้โอนอ่อนผ่อนตาม
6. กลยุทธ์ใช้อารมณ์ การใช้แรงจูงใจทางอารมณ์เพื่อลดการใช้ความคิดแบบมีเหตุผลเป็นกลยุทธ์คลาสสิกประการหนึ่งด้วยการสร้างกรอบความคิดแบบจบในตัวแบบสั้นๆ ด้วยการให้การวิเคราะห์เหตุผลประกอบเพื่อดึงอารมณ์ความรู้สึกและการมีส่วนร่วมของสาธารณชนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดการยับยั้งชั่งใจและปลูกฝังความคิด การสร้างแรงปรารถนา ความกลัว ความกังวล หรือชักจูงพฤติกรรมของผู้คนได้
7. กลยุทธ์รักษาความเฉื่อยชาและไม่สนใจของสาธารณะ ด้วยการทำให้สาธารณะชนไม่สามารถเข้าใจเทคโนโลยีและวิธีการในการควบคุมและทำให้ตกเป็นทาส คุณภาพของการศึกษาที่จัดให้กับชนชั้นล่างต้องแย่และปานกลางเท่าที่เป็นไปได้เพื่อยังคงรักษาช่องว่างระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นบนตามที่วางแผนไว้
8. กลยุทธ์ส่งเสริมสาธารณชนพึงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่รอบตัวหรือสิ่งทั่วไปในชีวิตประจำวัน ด้วยการส่งเสริมให้สาธารณะชนเชื่อว่าข้อเท็จจริงหรือประเด็นร้อนเหล่านั้นเป็นสิ่งไม่น่าสนใจ โง่เขลา ไม่ดี หรือไม่มีการศึกษา
9. กลยุทธ์การยอมรับผิด โดยการให้บุคคลรู้สึกว่าความโชคร้ายหรือกล่าวโทษว่าตนเองมีส่วนผิดด้วยในเรื่องนั้น เพราะเกิดจากความล้มเหลวด้านสติปัญญา ความสามารถ หรือความพยายามของตนเอง แทนที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านต่อระบบหรือนโยบายดังกล่าว ดังนั้น ประชาชนจึงรู้สึกยอมรับเป็นความผิดของตนเองแทน

10. กลยุทธ์การจัดสรรความรู้ กล่าวคือปัจจุบันรัฐบาลหรือผู้นำในสังคมมีเทคโนโลยีหรือวิธีการที่รู้จักบุคคลดีกว่าที่บุคคลนั้นรู้จักตัวเอง ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยได้สร้างช่องว่างเพิ่มขึ้นระหว่างความรู้ของสาธารณะและความรู้ที่ชนชั้นผู้นำรู้ อันมาจากเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านประสาทวิทยา และจิตวิทยาประยุกต์ ระบบที่ก้าวหน้าดังกล่าวได้ดำเนินการกับความเข้าใจที่ซับซ้อนของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่น่าสนใจคือระบบดังกล่าวมีความคุ้นเคยมากขึ้นกับคนทั่วไปมากกว่าเขาเข้าใจตัวเอง หมายความว่าส่วนใหญ่ระบบใช้ประโยชน์จากการควบคุมและอำนาจที่มากขึ้นเหนือคนทั่วไปมากกว่าคนเหล่านั้นทำกับตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น