รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในมาตรา 1 ข้อ 8 ระบุว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐสภา (Congress) ประกาศสงคราม (to declare War) ที่ผ่านมาในอดัตจนกระทั่งปัจจุบัน รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เคยมีการประกาศสงครามมาแล้ว 11 ครั้งใน 5 สงครามที่แตกต่างกัน ล่าสุดคือในสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีการใช้กำกลังทหารหลายครั้ง ซึ่งล่าสุดคือในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2002 รัฐสภาได้มีมติร่วมของทั้งสองสภาอนุญาตให้กองกำลังทหารในอิรัก เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมีความสามารถในการใช้กำลังทหารในสงครามหรือการขัดกันทางอาวุธ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายจำนวนหนึ่งที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีหรือฝ่ายบริหารและจะได้รับอนุญาตโดยการออกกฎหมายเพื่อประกาศสงคราม การเกิดขึ้นของสถานะสงครามที่มีอยู่ หรือการประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉิน
การประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่รัฐบาลของประะานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันจนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวน 11 ครั้งโดยเป้นการประกาศสงครามต่อรัฐบาลต่างชาติที่ประกาศผ่านรัฐสภาและประธานาธิบดีมีจำนวน 5 สงคราม คือ สงครามในปี ค.ศ. 1812 กับรัฐบาลสหราชอาณาจักร สงครามกับเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1846 สงครามกับสเปนในปี ค.ศ. 1898 สงครามโกลครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแต่ละสงคราม ประธานาธิบดีได้ร้องขอต่อรัฐสภาให้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการโดยเป็นหนังสือหรือนำเสนอด้วยวาจาต่อการประชุมร่วมสองสภา ในเนื้อหาที่ประกาศสงครามประธานาธิบดีมักอ้างว่ามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือในการทำสงคราม เช่น เกิดการโจมตด้วยอาวุธในอาณาเขตของสหรัฐอเมริกาหรือต่อประชาชน และการโจมตีดังกล่าวมีผลหรือเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิหรือผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ในศตวรรษที่ 19 การประกาศสงครามทั้งหมดอยู่ในรูปของร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา ในศตวรรษที่ 20 การประกาศสงครามทั้งหมดอยู่ใรูปของมติร่วมของสองสภา ในการพิจารณาของรัฐสภาจะใช้เสียงส่วนใหญ่ทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎร์และวุฒิสภาและลงนามเป็นกฎหมายโดยประธานาธิบดี การประกาศสงครามครั้งล่าสุดได้ออกเป็นกฎหมายในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942 โดยเป็นการประกาศสงครามต่อโรมาเนียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในสมัยประธานาธิบดีแม๊คคินลีย์ได้นำเสนอร่างประกาศสงครามต่อสเปนในปี ค.ศ. 1989 ต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1989 หลังจากที่สเปนได้ปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้สเปนสละอำนาจอธิปไตยเหนือคิวบาและอนุญาตให้คิวบาเป็นรัฐอิสระ ข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาและเป็นกฎหมายในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1898 โดยเนื้อหากฎหมายได้ประกาศรับรองให้คิวบากลายเป็นรัฐที่มีเอกราชและเรียกร้องให้สเปนถอนกำลังทหารจากเกาะคิวบาโโยให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสามารถใช้กำลังทหารจากมลรัฐต่างๆ เเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามกฎหมายได้ สงครามกับสเปนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1898 ไม่ได้มรการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นความพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะระงับการต่อต้านของชาวคิวบาต่อสเปน สนับสนุให้คิวบาเป็นรัฐเอกราช และสร้างรัฐบาลที่เข้มแข็งมีเสถียรภาพและความสงบสุขในประเทศกลับคืน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สหรัฐอเมริกาต้องการ
ส่วนศตวรรษที่ 20 ประธานาธิบดีวิลสันพยายามรักษาความเป้นกลางในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งประธานาธิบดีวิสันเห็นว่าการตัดสินใจของเยอร์มันนีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ที่จำกัดเรือดำน้ำของทุกชาติในเขตสงคราม รวมทั้งเรือของประเทศที่เป็นกลาง จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เพราะมีผลต่อสิทธิอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาที่เดิมได้รับการยอมรับจากเยอร์มันนี ดันั้น ประะานาธิบดีวิลสันจึงได้เสนอรัฐสภาให้ประกาศสงครามต่อเยอร์มันนีในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1971 โดยอ้างว่าสงครามดังกล่าวผลักดันให้รัฐสหอมริกาเข้าสู่สงครามด้วย ซึ่งรัฐสภาก็ได้ผ่านความเห็นชอบและประธานาธิบดีลงนามในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1917 แต่ชะลอการประกาศสงครามกับออสเตรียและฮังการีไปจนกระทั่งเดือนธันวาคมจึงประกาศสงครามกับทั้งสองประเทศเพิ่มเติม เนื่องจากเยอร์มันนี้เป็นพันธมิตรในสงครามและกลายเป็นเครื่องมือต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐสภาสหรัฐฯได้ผ่านความเห็นชอยโดยทันที
ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เรียกร้องให้มีการประกาศสงครามต่อญี่ปุุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาการโจมตีทางทหารโดยตรงโดยญี่ปุ่น ทหารและประชาชนขาวอเมริกาในฮาวายและเกาะบริเวณแปซิฟิก สภาผู้แทนราษฎร์และรัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบต่อข้อเสนอประกาศสงครามดังกล่าวและประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ลงนามประกาศใช้เป็นกฎหมายในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และได้ประกาศสงครามดับเยอร์มันนีด้วยโดยแยกเป็นมติต่างหาก ซึ่งถือว่าเป็นสภาวะสงครามเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสองประเทศ
ต่อมาในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย ฮังการี และโรมาเนียที่ถูกครอบงำโดยเยอร์ใันนี้เนื่องจากประเทศดังกล่าวได้มีกิจกรรมสงครามกับสหรัฐอเมริกาและประเทศดังกล่าวก็ได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบประกาศสงครมกับทั้งสามประเทศ แต่มติแยกจากกัน ซึ่งประธานาธิบดีได้ลงนามเป็นกฎหมายในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ในช่วงศตวรรษที่ 20 รัฐสภาสหรัฐอเมริกาก็ได้ผ่านความเห็นชอบให้ประกาศสงครามในลักษณะคล้ายกันอีก 8 ประเทศ โดยให้ประธานาธิบดีมีอำนาจสั่งการกองทัพทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาและทรัพยากรของรัฐบาลในการดำเนินการทางทหารต่อรัฐบาลเป้าหมายและทำให้ความขัดแย้งยุติลงได้สำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น