นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นระบบสื่อสารหลักของโลกอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอินเทอร์เน็ตเองก็กลายเป็นช่องทางที่ใช้ในการโจมตีหรือสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายกับสังคมและประเทศ วงการวิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ก็มีเกิดความไม่ลงรอยในความคิดเห็นว่าควรนำกรอบกฎหมายว่าด้วยสงครามที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในเรื่องความขัดแย้งทางไซเบอร์หรือไม่ หรือควรสร้างกรอบกฎหมายที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับกรณีดังกล่าวเป็นการเฉพาะ การถกเถียงดังกล่าวแยกออกเป็นสองประเด็นว่า กรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถใช้บังคับความขัดแย้งทางไซเบอร์และกรอบกฎหมายที่ปรากฏอยู่เพียงพอหรือไม่ในการบังคับใช้ดังกล่าว ซึ่งในการพิจารณาการบังคับใช้ของกฎหมายที่มีอยู่ดังกล่าวมีดังนี้
กรอบกฎหมายสำหรับความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบันใช้บังคับกับผู้เล่นที่เป็นรัฐและมิใช่รัฐ แต่การตัดสินใจว่าเมื่อไรจะใช้บังคับนั้นโดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าการกระทำดังกล่าวถูกถือว่าเกี่ยวพันกับการใช้กำลังหรือไม่ เช่น มีการใช้กำลังอาวุธในการเข้าโจมตี ในขณะที่ความขัดแย้งทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแทบจะทั้งหมดมักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและการจารกรรมหรือสอดแนมข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปอาชญากรรมไม่ถือว่าเป็นการกระทำในระดับเป็นการกระทำในทางสงคราม เช่นเดียวกันกับการจารกรรมและสอดแนมข้อมูล บุคคลและประเทศที่เข้ามาเกี่ยวพันกับกิจกรรมดังกล่าวไม่ได้ถูกถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการสงครามตามที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้
นักวิชาการได้แบ่งแยกระหว่างการกระทำที่ถือเป็นความผิดทางอาญากับการกระทำสงครามในไซเบอร์หากมีการระบุได้ว่าการกระทำในทางไซเบอร์ที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบอย่างเท่าเทียมกับการโจมตีที่ใช้กำลังถือว่าเป็นการกระทำทางสงคราม คำถามหลักคือว่าการแสวงหาประโยชน์ทางไซเบอร์ต้องก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพถือว่าเป็นการกระทำที่ใช้กำลัง หรือเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถจับต้องได้ที่เกิดขึ้นอนกเหนือจากความขัดแย้งทางอาวุธก็อาจถูกถือว่าเป็นการใช้กำลังและเป็นการกระทำทางสงคราม
ทั้งนี้ กฎหมายที่สามารถใช้บังคับกับสงครามไซเบอร์มีสองประเภทประกอบด้วย หลักเกณฑ์ความชอบธรรมในการจะเข้าสู่สงคราม (jus ad bellum) และหลักเกณฑ์ความชอบธรรมในการดำเนินการในระหว่างสงคราม (jus in bello) ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ปรากฎในกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดกรอบกฎหมายและหลักการใช้กำลังโดยการป้องกันตนเองไว้ ดังนี้ มาตรา 2 วรรค 4 ระบุว่า ประเทศสมาชิกทั้งหมดในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องไม่คุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพของอาณาเขตหรือความเป็นอิสระทางการเมืองของรัฐใด หรือกระทำการอื่นใดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ และมาตรา 51 ระบุว่าบทบัญญัติในกฎบัตรนี้ต้องไม่ลดหรือทำลายสิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มาแต่ดั้งเดิมในการป้องกันตนเองหากการโจมตีด้วยอาวุธเกิดขั้นต่อประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติจนกว่าสภาความมั่นคงได้มีมาตรการจำเป็นในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศเทศ ในการเริ่มใช้หลักการป้องกันตนเอง ประเทศชาตินั้นต้องพิจารณาว่าการแสวงหาประโยชน์ทางไซเบอร์ดังกล่าวถือเป็นการโจมตีด้วยอาวุธหรือไม่ การแสวงหาประโยชน์ทางไซเบอร์ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยในตัวเองไม่อาจถือว่าเพียงพอ การแสวงหาประโยชน์ทางไซเบอร์ที่ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงต่อการตายหรือการทำลายทางกายภาพไม่เข้าช่ายเ็นการโจมตีด้วยอาวุธ การใช้กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติดังกล่าวยังคงไม่มีความชัดเจน แต่ก็ยังมีความชัดเจนว่าเมื่อไรและสถานการณ์ใดที่การแสวงหาประโยชน์เกิดขึ้นในทางไซเบอร์จะถูกถือว่าเป็นการโจมตีด้วยอาวุธ
การโจมตีทางไซเบอร์ถูกกำกับดูแลภายใต้หลัก “jus in bello” หรือกฎหมายว่าด้วยความขัดแย้งทางอาวุธ (Law of Armed Conflict) กฎหมายเหล่านี้มาจากอนุสัญญาและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญากรุงเฮกและอนุสัญญากรุงเจนีวา และจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการใช้กำลังในระหว่างความขัดแย้งทางอาวุธ โดยประกอบด้วยสามหลักการตามกฎหมายสงคราม โดยเฉพาะการกำหนดกรอบในการพิจารณาความชอบในการใช้รูปแบบที่แตกต่างของการโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างทีี่มีการการขัดแย้งทางอาวุธ
หลักการแบ่งแยกกำหนดให้การโจมตีต้องถูกจำกัดเฉพาะกับเป้าหมายทางการทหารเท่านั้น แบะเป้าหมายที่เป็นพลเรือนต้องไม่ถูกโจมตี มาตรา 23 ของอนุสัญญากรุงเฮกห้ามคู่ต่อสู้ทำลายหรือยึดทรัพย์สินของศัตรูเว้นแต่การทำลายหรือยึดเป็นความต้องการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตามหลักความจำเป็นทางสงคราม
หลักการได้สัดส่วนหรือพอสมควรแก่เหตุ (the principle of proportionality) กำหนดว่าการใช้กำลังเพื่อป้องกันตนเองต้องถูกจำกัดว่าต้องมีความจำเป็นกับการโจมตีโดยอาวุธที่เกิดขึ้นจริงหรือกำลังจำเกิดขึ้นจริงเท่านั้น และต้องการกระทำป้องกันตนเองต้องได้สัดส่วนกับภัยคุกคามที่เผชิญอยู่ในตอนนั้น การโจมตีเป้าหมายทางการทหารที่ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตหรืออันตรายต่อพลเรือนหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของพลเรือนที่เกินความจำเป็นเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางทหารโดยตรงและรูปธรรมเป็นสิ่งต้องห้าม
หลักการแบ่งแยกการโจมตีได้ห้ามการโจมตีที่ไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้อย่างมีเหตุมีผลต่อเป้าหมายทางทหารและต้องถูกเลือกปฏิบัติต่อเป้าหมายทางพลเรือน มาตรา 27 เรียกร้องให่ทหารต้องดำเนินการหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหายต่อตึกอาคารที่เกี่ยวกัศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือสาธารณะกุศล อนุสาวรีย์ประวัตศาสตร์ โรงพยาบาล และสถานที่รักษาคนเจ็บป่วย เป็นต้น หากไม่ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารในเวลานั้น หลักกฎหมายดังกล่าวอาจเป็นการห้ามการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนแท้ๆ หากมีความเสียหายหรือถูกทำลายอาจไม่ได้ทำให้เกิดความได้เปรียบทางทหาร
นอกจากนี้ หลักการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่โจมตีอาจจำเป็นต้องประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นของความเสียหายข้างเคียงต่อเป้าหมายที่เป็นพลเรือนสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายสงคราม การใช้การโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างที่มีความขัดแย้งกันอาจถือเป็นข้อจำกัดเช่นเดียวกับการโจมตีด้วยอาวุธจลนพลศาสตร์ เป้าหมายของการปกป้องพลเรือนปรากฎในกฎหมายสงครามที่จะไม่ปกป้องพลเรือนจากอันตรายของการดำเนินการทางทหาร แต่หลีกเลี่ยงการโจมตีตามอำเภอใจที่ดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์ก่อให้เกิดอันตรายแก่เป้าหมายที่เป็นพลเรือน
การโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่มุ่งเป้าหมายไปยังพลเรือนและพยายามสร้างความหลาดกลัวเป็นรูปธรรมเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองแม้ผู้ก่อการร้ายจะไม่ถูกถือว่าเป็นนักรบหรือทหารที่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายระหว่างประเทศ การโจมตีต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์โดยผู้กระทำคือรัฐหรือมิใช่รัฐอาจขัดต่อกฎหมายว่าด้วยความขัดแย้งทางอาวุธ แต่การบังคับใช้กฎหมายสงครามต่อการโจมตีทางไซเบอร์เริ่มโดยผู้ก่อการร้ายอาจขึ้นอยู่กับลักษณะและระยะเวลาของการโจมตี การโจมตีเพียงครั้งเดียวอาจถือว่าเป็นการกระทำทางอาชญากรรมมากกว่าจะถือว่าเป็นการกระทำทางสงคราม ในขณะที่การโจมตีหลายๆ ครั้งโดยกลุ่มเดียวกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์อาจถือว่าเป็นการใช้กำลังทางทหาร
โดยสรุป กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับความขัดแย้งทางอาวุธ สามารถนำไปใช้กับการโจมตีทางไซเบอร์ได้ แต่ยังมีในบางเรื่องบางประเด็นที่ยังคงไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการละเมิดอธิปไตยของประเทศที่สาม การใช้การโจมตีทางไซเบอร์โดยผู้ก่อการร้ายและพบว่าปัจจุบันจำนวนและลักษณะของความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์สามารถตีความได้ว่าเป็นการกระทำทางสงคราม สำหรับในประเด็นการดำเนินการทางทหารบางเรื่องนั้น เช่น การระเมินความเสียหายข้างเคียงก่อนดำเนินการทำให้การโจมตีสอดคล้องกับกฎหมายสงครามยังไม่ชัดเจนในประเด็นนี้ ซึ่งมีตัวอย่างจำนวนน้อยในการแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนดังกล่าว แต่เป็นไปได้ในการสร้างความชัดเจนเพื่อการวิเคราะห์และเกมสงคราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น