วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

เศรษฐกิจความคิด

ในปี 1994 ศาสตร์จารย์บาร์โลว์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้เขียนบทความเรื่องเศรษฐกิจความคิดไว้ (economy of ideas)  ในวารสาร wired ปี ค.ศ. 1994 โดยระบุปัญหาของทรัพย์สินดิจิทัลไว้ กล่าวคือหัวใจสำคัญของประเด็นนี้คือ หากทรัพย์สินของเราสามารถผลิตซ้ำได้อย่างไม่มีวันหมดและสามารถกระจายไปทั่วโลกโดยปราศจากต้นทุนและไม่ตจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ ไม่มีแม้กระทั่งความสามารถในการครอบครอง แล้วอะไรคือวิธีการที่จะปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลเหล่านั้น? วิธีการใดที่จะได้รับผลตอบแทนตากงานที่เราสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้น? ศาสตราจารย์บาร์โลว์ได้นำเสนอข้อโต้แย้งว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีทางที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวหรือตอบสนองความจำเป็นในยุคดิจิทัลได้อย่างเพียงพอ กฎหมายดังกล่าวไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของยุคดิจิทัลว่ากฎหมายและมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถปรับใช้กับทรัพย์สินดิจิทัลได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล ผู้กำหนดนโยบายควรคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อความคิดกลายมาเป็นทรัพย์สินได้ ประเด็นปัญหาต่างๆก็ตามมา

แหล่งที่มาของปัญหาของกฎหมายปัจจุบันคือมันถูกออกแบบสำหรับสังคมที่ข้อมูลสารสนเทศได้ถูกแพร่กระจายผ่านทางวัตถุที่มีกายภาพเป็นหลัก เช่น หนังสือ หรืออุปกรณ์ หากบุคคลหนึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทนจากความคิดของเขา แต่ความสามารถส่งหรือกระจายความคิดได้รับค่าตอบแทนในทางความเป็นจริง คุณค่าจะไปอยู่ที่การส่งหรือกระจายไม่ใช่ไปอยู่ที่ความคิดที่ส่งหรือกระจาย ดังนั้น สินค้าในยุคสารสนเทศเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีอยู่จริงหรือความคิดทำให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีประสิทธิผล ความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิผลอย่างเข้มข้นอาจคุมคามต่อสิทธิเสรีภาพอื่นๆหรือเกิดผลเสียมากกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ศาสตราจารย์บาร์โลว์ไม่ได้กังวลว่าความคิดจะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญา แต่เสรีภาพในการแสดงออกจะถูกลิดรอนเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดเรื่องทรัพย์สินและความเป็นเจ้าของได้เรียกร้องแนวทางใหม่ในการคิดเกี่ยวกับวิธีการที่จะปกป้องสิ่งเหล่านั้นและการปกป้องแบบใหม่ต้องพึงพิงจริยธรรมและเทคโนโลยีมากกว่ากฎหมาย 
ศาสตราจารย์บาร์โลว์ยังกล่าวต่อไปอีกว่าสิ่งที่มีผลิตภาพมากที่สุดในการทำในขณะนี้คือการมองในความเป็นจริงของคุณลักษณะสิ่งที่เราต้องการปกป้อง นั้นก็คือข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีสามประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้ ประการแรกคือกิจกรรม (information as an activity) เพราะข้อมูลสารสนเทศไม่มีสิ่งบรรจุมันไว้ สารสนเทศทำงานอย่างกับกิริยา ไม่ใช่นาม เพราะสารสนเทศใช้การดำเนินกระบวนการ เป็นเรื่องของประสบการณ์ไม่ใช้การเป้นเจ้าของสารสนเทศ การกระทำที่ใช้เวลามากกว่าทางกายภาพและใช้ประสบการณ์มากกว่าการเป็นเจ้าของ และสิ่งนั้นต้องเคลื่อนย้ายได้มิฉะนั้นจะหยุดปรากฎในฐานะสิ่งของ แต่มีศักยภาพและส่งผ่านได้ด้วยการประชาสัมพันธ์มากกว่าการแพร่กระจาย เพราะสิ่งนั้นสามารถโอนได้โดยการแย่งชิงความเป็นเจ้าของของเจ้าของเดิม

ประการที่สอง ข้อมูลสารสนเทศอยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิต (information as life form) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศาสตราจารย์ริชาร์ด ดอร์กิ้นส์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์คที่ให้ตัวอย่างที่เป็นประโยชน์ว่าข้อมูลสารสนเทศต้องการความเป็นอิสระ เพราะสารสนเทศสามารถผลิตซ้ำตัวมันเองได้ เปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาการเองได้ ขยายเพิ่มในที่ใหม่ได้ และสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ สิ่งนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็สามารถเสื่อมค่าได้ การเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วทั้งด้านระยะเวลาและระยะทางจากแหล่งที่ผลิต

ประการที่สาม ข้อมูลสารสนเทศเป็นความสัมพันธ์ สิ่งนั้นจะมีคุณค่าด้วยวิธีการที่สร้างความหมายและการมีความหมายขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและผู้รับเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากสินค้ากายภาพเพราะข้อมูลสารสนเทศไม่ได้ทำงานอยู่บนหลักความขาดแคลน แต่ขึ้นอยู่กับหลักความคุ้นเคย สินค้าที่ไม่ใช่กายภาพจะเพิ่มคุณค่าหากสิ่งนั้นมีลักษณะความรับรู้ร่วมกันมากกว่า ข้อมูลสารสนเทศสามารถมีมูลค่าหากมีการผูกขาดแต่เพียงรายเดียว แต่ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย มุมมองและอำนาจมีมูลค่าสำหรับกหารแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ ระยะเวลามีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ และข้อมูลสารสนเทศมีคุณค่าในตัวมันเองและดังนั้นสามารถแลกเปลี่ยนได้
เศรษฐกิจข้อมูลสารสนเทศโดยปราศวัตถุกายภาพจากอิงความสัมพันธ์มากกว่าความเป็นเจ้าของ การแลกเปลี่ยนการดำเนินการและบริการเป็นโมเดลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในยุคดจิทัล สำหรับผู้ให้บริการสารสนเทศนั้น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคตจะต้องพึงพาความสามารถในการควบคุมความสัมพันธ์กับตลาด คุณค่าของความสัมพันธ์ดังกล่าวจะอยู่ในคุณภาพของการดำเนินการ ความพิืเศษของมุมมอง ความถูกต้องของความเชี่ยวชาญ และความเกี่ยวพันกับตลาด รวมทั้งขึ้นอยู่กับบริบทรอบๆตัว ความสามารถขอตลาดในการเข้าถึงบริการที่สร้างสรรค์อย่างรวดเร็ว สะดวกและสื่อสารได้สองทางเป็นสำคัญ

การพยากรณ์ของศาสตราจารย์บาร์โลว์ดังกล่าวเมื่อ 20 ปีที่แล้วน่าจะกลายเป็นจริง เช่น ในธุรกิจบันเทิงไ้ดมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจโมเดลในการแลกเปลี่ยนสินค้ากายภาพเป็นการแลกเปลี่ยนบริการแทน ปัจจุบันไม่มีการซื้อขายแผน DVD หรือการโดวโหนดไฟลดิจิทัล หากผู้บริโภคไม่ได้ต้องการจริงๆ ปัจจุบันผู้บริโภคยินยอมจ่ายค่าบริการอย่างเช่น Spotify หรือ Netflix ในการเข้าถึงเพลง ภาพยนต์หรือรายการทีวี เพื่อฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ที่ต้องการ  ในยุคเศรษฐกิจสารสนเทศ การสมัครสมาชิกซอฟแวร์และบริการเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากสิ่งที่บรรจุสารสนเทศเดิมไม่สามารถคุ้มครองหรือปกป้องคุณค่าของสารสนเทศได้เหมือนเดิม การเข้ารหัสจะเป็นเทคนิคที่สำคัญสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา
ศาสตราจารย์บาร์โลว์เชียนว่ายังไม่รู้ว่าะไรจะเกิดขึ้นในโลกของกฎหมาย แต่คุณลักษณะของคลื่นความก้าวหน้าของไซเบอร์สเปซที่ไม่มีกฎระเบียบควบคุมยังคงมีความเป็นธรรมอย่างในระดับหนึ่ง ไม่รู้ว่าวิธีการที่กฎหมายจะปรับตัวให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นในยุคดิจิทัล แต่ที่น่าสนใจคือในปี 1994 กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพแน่ๆ เงื่อนไขในโลกยุคดิจิทัลแห่งความเป็นจริงยังคงเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่อาจยั่งรู้ได้และกฎหมายจะยังคงล้าหลังตลอด ที่สำคัญส่งผลให้เกิดความสับสนมากขึ้นไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นจะแก้ไขหรือจัดการได้หรือไม่ก็ตาม  ปัญหาดังกล่าวยังคงมีให้เห็นเสมอ คำกล่าวของศาสจารย์บาร์โลว์เป็นจริงหรือไม่ ผู้อ่านคงตระหนักได้ว่าปัจจุบันกฎหมายได้จัดการปัญหาต่างๆ ที่ศาสตราจารย์บาร์โลว์พูดถึงไว้ได้มากน้อยเพียงใด และปัญหาใดยังคงหลงเหลืออยู่ที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น