ประเด็นเรื่องการสวดมนต์ในโรงเรียนเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่
๒๐ คดีสำคัญคดีแรกคือ คดี Engel v Vitale ในปี ค.ศ. 1962
ศาลสูงสุดตัดสินว่าแนวปฏิบัติที่จัดให้มีการสวดมนต์ในวันแรกของการเปิดเรียนในมลรัฐนิวยอร์กขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน
ในคดี Engel นี้ ศาลสูงสุดอธิบายว่า ทั้งนี้ไม่ว่านักเรียนจะมีทางเลือกในการเข้าร่วมกับการสวดมนต์หรือไม่ก็ตาม
แต่ก็ถือว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติการนับถือศาสนา (Establishment
Clause) ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากโรงเรียนสามารถสร้างแรงกดดันเชิงบังคับทางอ้อมกับคนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่นให้ปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนาของคนกลุ่มมากในสังคม
เพราะแรงกดดันอาจมาจากบรรดาเพื่อน ๆ โดยอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อเด็กนักเรียน ซึ่งนักเรียนหลายคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาหลักของประเทศในใจอาจไม่ประสงค์จะไม่เข้าร่วมในการสวดมนต์
แต่อาจต้องเข้าร่วมในการสวดมนต์ด้วยเพราะความกลัวถูกครหาในสังคมและหมู่เพื่อน โดยไม่อยากถูกมองว่าแปลกแยกจากเพื่อนและสังคม
อันถือว่ามีอิทธิพลทางอ้อมต่อเด็กอย่างมาก คำตัดสินในคดี Engel ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในเชิงวิชาการ แต่ไม่ใช่ประเด็นว่าเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนสามารถกำหนดเวลาสำหรับนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมการสวดมนต์หรือไม่
ต่อมาประเด็นคล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีกในปี
ค.ศ. 1985 ในคดี Wallace
v Jaffree มลรัฐอาลาบาม่าได้อนุญาตให้โรงเรียนจัดให้มีช่วงเวลาบางเวลาและสถานที่บางส่วนสำหรับการสวดมนต์หรือทำสมาธิอย่างเงียบ
ๆ ได้
กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งเพราะไม่ได้มีการสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาใดศาสนาหนึ่งเหนือกว่าศาสนาอื่น
เป็นการสะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาส่วนบุคคลเท่านั้น
นักเรียนสามารถใช้ช่วงเวลาหรือสถานที่ดังกล่าวในการทำพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายกล่าวว่าวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติแก้ไขดังกล่าวเพื่อให้บรรดาเด็กใช้เวลาในการท่องจำคำสวดมนต์
ดังนั้น ในคดี Wallace ศาลสูงสุดด้วยคะแนนเสียง 5
ต่อ 4 ตัดสินว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวของมลรัฐอลาบาม่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางศาสนาอย่างแท้จริง
จึงตัดสินว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ในปี ค.ศ. 1992 ในคดี Lee v Weisman ศาลสูงสุดต้องตัดสินประเด็นเรื่องการสวดมนต์ในโรงเรียนในพิธีฉลองการสำเร็จการศึกษาของโรงเรียนมัธยม ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เชิญพระ/นักบวชเพื่อทำพิธีกรรมสวดมนต์และขอพรพระเจ้าเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานพิธีดังกล่าว นายไวสแมนได้ฟ้องว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อแนวปฏิบัติของบทบัญญัติการคุ้มครองทางศาสนา ศาลสูงสุดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 ตัดสินว่าการทำพิธีกรรมสวดมนต์และขอพรพระเจ้าขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เนื่องจากการกระทำดังกล่าวมีระดับของการบังคับที่ยอมรับไม่ได้ เนื่องจากข้อเท็จจริงคือพิธีการฉลองการสำเร็จการศึกษาถือว่ามีความสำคัญต่อนักเรียนและะอาจส่งผลให้นักเรียนลังเลที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมดังกล่าวเพราะนักเรียนอาจมีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างออกไป ดังนั้น ทางเลือกของนักเรียนดังกล่าวคือนั่งต่อไปหรือเดินออกจากพิธีกรรมก่อนจะเริ่มสวดขอพรจากพระเจ้า ซึ่งทางเลือกเดินออกจากพิธีกรรม นักเรียนอาจไม่กล้าเพราะเกรงว่าจะดูเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่การยงคงนั่งอยู่ต่อไปในพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนเองไม่นับถือหรือเชื่อก็อาจเป็นการฝืนใจ อย่างไรก็ตามแต่ความเห็นเสียงข้างน้อยกล่าวว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าจะก่อให้เกิดปัญหาแต่ประการใด หากรัฐไม่ได้มีบทลงโทษกรณีไม่เข้าร่วมพิธีกรรมดังกล่าว
โดยทั่วไปศาลมักจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำในลักษณะดังกล่าวและมีแนวโน้มที่จะตีความว่าเป็นการบังคับขืนใจหรือเป็นกรณีที่รัฐสนับสนุนศาสนา โดยเห็นได้จากแนวโน้มในคดี Santa Fe v Doe ในปี ค.ศ. 2000 พิจารณานโยบายของโรงเรียนท้องถิ่นในมลรัฐเท็กซัสที่อนุญาตให้นักเรียนเลือกนักเรียนเพื่อพูดสั้น ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ก่อนเริ่มการแข่งขันฟุตบอล ตามนโยบายแล้ว คำพูดที่เกี่ยวกับศาสนานั้นต้องเกี่ยวข้องกับกับงานและไม่ยึดติดกับศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือเป็นกลาง ศาลตัดสินว่านโยบายของโรงเรียนซานตาเฟ่ขัดต่อบทบัญญัติการนับถือศาสนา ศาลให้เหตุผลว่าคำพูดที่โรงเรียนให้การสนับสนุน ใช้สถานที่ของโรงเรียน และอาจทำให้นักเรียนสนับสนุน กระบวนการเลือกตั้งประกันว่าข้อความของศาสนาอาจสะท้อนความเห็นทางศาสนาของนักเรียนส่วนใหญ่ที่เป็นคริสเตียนหัวรุนแรง ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยโต้แย้งว่านโยบายโรงเรียนมีความเป็นกลางและขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น