ประการแรก วิชาชีพสื่อสารมวลชนมีพันธะหน้าที่ในการนำเสนอความจริง เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยต้องพึงพาและส่งเสริมให้ประชาชนมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในบริบทที่มีความหมาย วิชาชีพสื่อสารมวลชนไม้ได้ติดตามความจริงในแง่ของปรัชญา แต่สามารถและต้องติดตามความจริงในแง่ทางปฏิบัติ ความจริงของสื่อสารมวลชนคือกระบวนการที่เริ่มต้นด้วยวิทยาการของวิชาชีพของการรวบรวมและตรวจสอบข้อเท็จจริง นักสื่อสารมวลชนพยายามที่จะนำเสนอความหมายของข่าวที่น่าเชื่อถือและเป็นธรรมมีการตรวจสอบความถูกต้องให้ทันสมัยและต้องมีการตรวจสอบต่อเนื่องในอนาคตด้วย นักสื่อสารมวลชนควรมีความโปร่งใสเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับแหล่งข่าวและวิธีการเพื่อให้ผู้รับข่าวสารสามารถประเมินข้อมูลข่าวสาร ความถูกต้องเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดทุกสิ่งตั้งแต่เนื้อหา การตีความ ข้อเสนอแนะ การวิจารณ์ การวิเคราะห์ และการโต้แย้ง ความจริงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเกิดจากเวทีนี้ ประชาชนต้องเผชิญการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องการรู้แหล่งที่มาของแห่ลงข่าวว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารและบริบทแวดล้อมดังกล่าว
ประการที่สองความซื่อสัตย์ต่อประชาชน
ในขณะที่องค์กรข่าวตอบคำถามต่อประชาชน ผู้ถือหุ้นและโฆษณา
นักสื่อสารมวลชนในองค์กรต้องรักษาความรู้สึกซื่อสัตย์ต่อประชาชนและผลประโยชน์สาธารณะที่ยิ่งใหญ่กว่าหากมีการเผยแพร่ข่าวสารโดยปราศความกลัวและอคติ
พันธะหน้าที่ดังกล่าวต่อประชาชนเป็นพื้นฐานหลักของหน่วยงานหรือองค์กรข่าวที่มีเครดิตน่าเชื่อถือ
การนำเสนอที่บอกเล่าต่อผู้ชมว่าหัวข้อข่าวไม่ได้เข้าข้างเพื่อนหรือผู้โฆษณา พันธะดังกล่าวหมายความว่าผู้สื่อข่าวต้องนำเสนอภาพของความเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องในสังคม
การละเลยประชาชนบางกลุ่มมีผลให้เกิดการพรากสิทธิจากพวกเขาเหล่านั้น
ตามทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมข่าวสมัยใหม่คือความเชื่อว่าการสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้ชมที่ซื่อสัตย์และครอบคลุมกว้างขวาง
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะตามมา ในแง่ดังกล่าวบุคคลในทางธุรกิจในองค์กรข่าวต้องทะนุถนอมความซื่อสัตย์ต่อประชาชนไว้โดยไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ประการที่สาม ความสำคัญของการตรวจสอบความถูกต้อง
นักสื่อสารมวลชนเชื่อมั่นในวิทยาการวิชาชีพในการตรวจสอยความถูกต้องของข้อมูล
เมื่อแนวคิดของความเป็นกลางพัฒนาขึ้น
ไม่ได้สะท้อนว่านักสื่อสารมวลชนมีความอิสระจากอคติ
แต่มีการเรียกร้องวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลที่แม่นยำ เช่น
แนวทางที่โปร่งใสต่อหลักฐาน เพื่อมิให้ความอคติทางวัฒนธรรมและส่วนบุคคลทำลายความถูกต้องของงานดังกล่าว
วิธีการคือความเป็นกลางไม่ใช่นักข่าว การมองหาพยานหลายแหล่งหลายคน
การเปิดเผยแหล่งข่าวให้มากที่สุด หรือการสอบถามเพื่อหาความเห็นหลากหลายด้าน
ซึ่งทั้งหมดจะส่งสัญญาณมาตรฐาน
วิทยาการของการตรวจสอบความถูกต้องคือสิ่งที่แยกวิชาชีพสื่อสารมวลชนออกจากการสื่อสารแบบอื่น
เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ นวนิยาย หรือบังเทิง
แต่ความจำเป็นสำหรับวิธีการของวิชาชีพไม้ได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์
ในขณะที่นักสื่อสารมวลชนพัฒนาเทคนิคต่าง ๆในการพิจารณาข้อเท็จจริง เช่น
การพัฒนาระบบในการทดสอบความน่าเชื่อถือของการตีความของนักข่าว
ประการที่สี่ ผู้สื่อสารภาคสนามต้องรักษาความเป็นอิสระจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ความเป็นอิสระเป็นเงื่อนไขสำคัญของนักสื่อสารมวลชน หัวใจสำคัญของมันคือความเชื่อถือ ความเป็นอิสระทั้งจิตวิญญาณและหัวใจสำคัญกว่าความเป็นกลางที่นักสื่อสารมวลชนต้องยึดมั่นรักษาไว้ ในขณะที่บรรณาธิการและผู้ให้ความเห็นอาจไม่มีความเป็นกลาง แหล่งของความน่าเชื่อถือยังคงเป็นความถูกต้อง ความเป็นธรรมและความสามารถในการแจ้งข้อมูลไม่ใช่ให้ความสำคัญกับเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะผลลัพธ์ ความเป็นอิสระนั้นนักสื่อสารมวลชนต้องหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ในการหลีกห่างจากความยโส ชนชั้นนำ การแยกตัว และความลุ่มหลงตัวเอง
ประการที่ห้าต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างอิสระ
วิชาชีพสื่อสารมวลชนมีความสามารถแตกต่างในการทำหน้าที่เป็นคนเฝ้าระวังบุคคลที่มีอำนาจและมีตำแหน่งที่มีผลกระทบต่อประชาชน
อันเป็นรากฐานสำคัญของสื่ออิสระ ศาลได้ยืนยันหลักฐานดังกล่าว
และประชาชนก็มั่นใจและเชื่อใจ นักสื่อสารมวลชนมีพันธะหน้าที่ในการปกป้องเสรีภาพของผู้เฝ้าระวังโดยไม่บิดเบือนในการแสวงหาประโยชน์จากรายได้เชิงพาณิชย์
ประการที่หก ต้องมีเวทีสำหรับการวิจารณ์สาธารณะและการประนีประนอม สื่อใหม่เป็นช่องทางร่วมในการวิจารณ์สาธารณะและความรับผิดชอบได้ก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับสิทธิพิเศษ การถกเถียงทำหน้าที่รับใช้สังคมอย่างดีหากได้รับการแจ้งข้อเท็จจริงมากกว่าอคติและความคาดเดาหรือข่าวลือที่เลื่อนลอย ควรที่ส่งเสริมมุมมองและผลประโยชน์ที่แตกต่างหลากหลายในสังคม และจะบรรจุให้อยู่ในบริบทมากกว่าการให้ความสำคัญเพียงเพราะมีความขัดแย้งทางความคิดในการโต้แย้ง ความถูกต้องและความสัตย์จริงต้องการให้เกิดกรอบของการโต้เถียงที่เราต้องไม่ละเลยประเด็นของพื้นฐานร่วมเมื่อมีการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น
ประการที่เจ็ด
ต้องทำให้มีความน่าสนใจและเกี่ยวข้องมากขึ้น
นักสื่อสารมวลชนถือว่าเป็นนักเล่าเรื่องที่มีวัตถุประสงค์
ควรจะทำมากกว่าการรวบรวมให้ผู้อ่านหรือผู้ชมหรือการแบ่งความสำคัญเท่านั้น
นักสื่อสารมวลชนต้องสร้างสมดุลว่าอะไรที่ผู้อ่านหรือผู้ชมรู้อะไรที่ต้องการอะไรที่ไม่คาดหวังแต่มีความจำเป็นต้องรู้
ในระยะสั้นต้องกระตุ้นให้ผู้ชมมีความสนใจและเกี่ยวข้องด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
ความมีประสิทธิภาพของแต่ละวิชาชีพสื่อสารมวลชนอาจวัดได้ทั้งจำนวนงานที่เข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับผู้ชมและการให้ความกระจ่างแก่ผู้ชม
ซึ่งหมายความว่าผู้สื่อข่าวต้องถามว่าข้อมูลข่าวสารที่มีมูลค่ามากที่สุดต่อประชาชนคืออะไรและอยู่ในรูปของอะไร
ในขณะที่นักสื่อสารมวลชนควรเข้าถึงประเด็นรัฐบาลและความปลอดภัยสาธารณะ นักสื่อสารมวลชนจะถูกทับถมด้วยข้อมูลมหาศาลและข้อล่วงซึ่งสุดท้ายจะให้ข้อมูลเล็กน้อยแก่สังคม
ประการที่แปดต้องทำให้ข่าวมีความครอบคลุมและได้สัดส่วน การทำให้ข่าวได้สัดส่วนและไม่ละทิ้งสิ่งสำคัญไว้เป็นหัวใจของความเป็นจริง นักสื่อสารมวลชนในรูปของนักวาดการ์ตูนจะสร้างแผนที่สำหรับประชาชนในการพิจารณาและท่องไปในสังคม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำนวนมากอาจมีทั้งสะเทือนอารมณ์ ธรรมดาทั่วไป ละทิ้งเหตุการณ์ หรือไม่ได้สัดส่วนในทางลบ ซึ่งจะทำให้เกิดแผนที่ที่น่าเชื่อถือน้อยลง แผนที่ดังกล่าวควรรวมข่าวสารของชุมชนไม่เพียงแต่พื้นที่ที่น่าสนใจเท่านั้น ในการบรรลุเป้าหมายในห้องข่าวด้วยความหลากหลายของความคิดเห็นและมุมมอง แผนที่อาจเป็นเพียงการเปรียบเทียบ ความได้สัดส่วนและความครอบคลุมเป็นหัวข้อสำคัญ แต่การหลบหนีไม่ได้ลดความสำคัญลง
ประการที่เก้า
นักสื่อสารมวลชนในภาคปฏิบัติต้องถูกยอมให้มีการจิตสำนึกส่วนตัว
กล่าวคือนักสื่อสารมวลชนทุกคนต้องมีความรู้สึกจริยธรรมและความรับผิดชอบส่วนบุคคล
หรือเข็มทิศศีลธรรม แต่ละคนมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสียงที่แตกต่างจากพรรคพวกทั้งในห้องข่าว
และกับผู้บริหาร หากมีความจำเป็นต้องมีความเป็นธรรมและความถูกต้อง
หน่วยงานข่าวทำได้ดีในการรักษาความเป็นอิสระโดยการส่งเสริมให้แต่ละคนพูดตามที่ตัวเองคิด
ซึ่งจะกระตุ้นความหลากหลายทางปัญญาที่จำเป็นต้องการเข้าใจและครอบคลุมในสังคมที่หลากหลายเพิ่มขึ้นได้อย่างถูกต้อง
ในความหลากหลายทางความคิดและทางเลือกไม่ใช่แค่การเป็นสมาชิกแต่เป็นหัวใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น