ในอดีตกฎหมายและศีลธรรมยากที่แบ่งแยกออกจากกัน มีคำพูดของนักปราชญ์ชาวกรีกที่เสนอแนะว่าคนดีเป็นบุคคลที่จะทำสิ่งใดที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในยุคแรกคนดีเป็นผู้สร้างกฎหมายโดยเป็นคนที่พิจารณาตัดสินว่าอะไรดีและอะไรผิด ต่อมามีนักปราชญ์พยายามหาความแตกต่างระหว่างอะไรที่เป็นกฎหมายและอะไรที่ถูกต้องตามกฎหมายตามผู้มีอำนาจทางการเมืองและอะไรที่ควรเป็นกฎหมายสอดคล้องกับอะไรที่ถูกต้องและเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น อะไรที่เราควรเรียกว่าถูกต้องตามศีลธรรม เราสามารถแบ่งแยกระหว่างอะไรที่เป็นกฎหมายหรืออะไรที่ถูกต้องตามจารีตประเพณีและอะไรที่ถูกต้องตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าชอบด้วยศีลธรรม
บางครั้งมีความชัดเจนในทางตรงกันข้ามระหว่างอะไรที่เป็นคำสั่งของพระเจ้า เช่น อะไรที่ชอบด้วยศีลธรรม และอะไรคือคำสั่งของผู้มีอำนาจทางการเมือง เช่น อะไรที่ชอบด้วยกฎหมาย ในบทละครแอนทราโกนีได้อธิบายไว้ในกรณีที่ตัวเอกท้าทายคำส่งของกษัตริย์ซึ่งถือเป็นแหล่งความชอบด้วยกฎหมายในสถานการณ์ดังกล่าวและหน้าที่ฝังศพของพี่ชายซึ่งเป็นการกระทำที่ชอบด้วยศีลธรรม ความย้อนแย้งดังกล่าวระหว่างสิ่งที่รัฐกำหนดและสิ่งที่พระเจ้าสั่งสอนไม่ใช่หนทางหรือวิธีการที่แบ่งแยกระหว่างกฎหมายและศีลธรรมได้อย่างชัดเจน
กฎหมายเป็นข้อความคิดที่ยากจะกำหนดนิยามความหมายที่ชัดเจนซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างมากในเชิงวิชาการ แต่ที่นิยมให้คำจำกัดความว่าหมายถึงกฎที่กำกับสังคมที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม กฎดังกล่าวถูกสร้างด้วยความกังวลในแง่มุมของพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์ ตั้งแต่สัญญา ละเมิด ทรัพย์สิน การจราจร และการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยของมนุษย์ในแง่ต่างๆ ตามสารานุกรมบริทานิกาได้อธิบายคำว่า กฎหมาย หมายถึงรูปแบบเฉพาะของการควบคุมในสังคมที่มีการจัดระเบียบทางการเมืองและศีลธรรม วัตถุประสงค์ของกฎหมายของมนุษย์คือความดีร่วมมากกว่าความดีของแต่ละตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการสร้างความเรียบร้อยอย่างใดอย่างหนึ่งที่ชัดเจนเพื่อปกป้องสังคมโดยรวม หากปราศจากกฎหมายจะไม่มีสังคม รูปแบบแรกของกฎหมายในความหมายนี้ก็คือวัฒนธรรมของชุมชนที่แสวงหาความยุติธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชนในลักษณะที่ก่อตัวเป็นอารยธรรมในเวลาต่อมา
สำหรับศีลธรรมได้รับการอธิบายแตกต่างออกไป ว่าหมายถึงประมวลความเชื่อ ค่านิยม หลักการ และมาตรฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ในบางครั้งกฎหมายก็อิงศีลธรรม ตามความเห็นของนักสังคมวิทยา เอมิล ดูรไกม์ อธิบายว่าเป็นการยากที่จะระบุกลุ่มของค่านิยมทางศีลธรรมที่เป้นที่ยอมรับของสมาชิกในสังคมสมัยใหม่ทั้งหมดได้ ศีลธรรมเป็นจิตสำนึกของบุคคลเกี่ยวกับถูกหรือผิดที่อาจได้รับอิทธิพลมาจากหลายแหล่งที่แตกต่างกัน เช่น พ่อแม่ เพื่อน สื่อ โรงเรียน ที่ทำงาน เป็นต้น ดังนั้น ศีลธรรมจึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยสิ่งที่มนุษย์ควรกระทำ เช่น อะไรเป็นหนทางที่ถูกต้อในการกระทำและอะไรเป็นสิ่งผิด แนวคิดพื้นฐานของศีลธรรมเป็นความผิดชอบชั่วดีเป็นสิ่งสากลในสังคมหรือชุมชนนั้น หากภายในจิตใจของคนไม่มีเรื่องของศีลธรรม ก็จะลดทอนความศักดิ์สิทธิของกฎหมายลง ความผูกันหรือยอมปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเนื่องจากการกลัวถูกลงโทษจากการบังคับใช้กฎหมาย วัตถุประสงค์ของศีลธรรมจึงเป็นเรื่องประกันความถูกต้องของจิตสำนึกของมนุษย์รายบุคคลซึ่งกฎหมายไม่สามารถบังคับจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามได้
นักปราชญ์ชาวกรีก เพลโต้ ที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการมีอยู่และความเป็นจริง หรือระหว่างสิ่งที่ดูเหมือนอย่างผิวเผินหรือปรากฎในกรณีศึกษา และสิ่งที่ผ่านเปิดเผยและมีการตรวจสอบอย่างสมเหตุสมผล ตัวอย่างเช่น เพลโต้อธิบายว่าความรู้ของสิ่งที่เป็นธรรมหรือศีลธรรม และความสามารถในการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างความยุติธรรมที่แท้จริงหรือศีลธรรมจากสิ่งที่เห็นได้ชัดว่าเป็นธรรมซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนการและการใช้เหตุผลของมนุษย์ จึงมีความใกล้ชิดกันระหว่างความยุติธรรมที่แท้จริงหรือศีลธรรมและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์หรือความรุ่งเรือง การจัดการทางกฎหมายและทางการเมืองแตกต่างจากความยุติธรรมที่แท้จริงที่ควรถูกทดแทนด้วยการจัดการที่ส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมที่ดีขึ้นและดังนั้นความอยู่ดีกินดี
สำหรับในโลกยุคใหม่ก็เช่นกัน กฎหมายและศีลธรรมก็ยังคงถือว่าเป็นศาสตร์ที่แยกออกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันคือจริยธรรมเชิงกฎหมาย (legal ethics) ที่เป็นเรื่องของความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพของนักกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้อิงความคิดความถูกต้องหรือความผิดชอบชั่วดีของกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าอาจเป็นผลมาจากการลดลงของอิทธิพลแนวคิดของความจริวเกี่ยวกับมนุษย์และกฎหมายธรรมชาติ ที่ปล่อยให้สิทธิของมนุษย์ลดลงในการต่อต้านกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและเปิดโอกาสให้เกิดเผด็จการในการใช้กฎหมายหรือการใช้อำนาจในทางกฎหมายเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ที่จริงแล้วเรื่องดังกล่าวสามารถมองเห็นและเข้าใจได้ไม่ยาก แต่เนื่องจากผู้คนจำนวนมากมองเรื่องดังกล่าวอย่างผิวเผินไม่มีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้เว้นแต่ตนเองต้องเผชิญกับเรื่องดังกล่าว จึงจะสามารถสะท้อนแนวคิดดังกล่าวนี้
นักวิจารณ์บางคนได้สรุปว่าแม้ว่ากฎหมายและศีลธรรมไม่ได้ในความหมายในลักษณะเดียวกัน ทั้งที่ควรจะเป็นเนื่องจากมีความพึ่งพาระหว่างกัน กฎศีลธรรมแบ่งแยกความผิดชอบชั่วดีของการกระทำของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายให้มนุษย์ทั้งหมดดีขึ้นพัฒนาขึ้นทั้งในแง่ของตนเองและสังคม ในขณะที่กฎหมายในแง่ของการเมืองมีเป้าหมายที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมหรือชุมชนโดยยึดหลักความยุติธรรม สงบสันติ และมีเสรีภาพ ซึ่งแน่นอนส่งผลให้เกิดเงื่อนไขบางประการในแง่ของความยุติธรรมตามความจริงและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลลัพท์ทางอ้อม อารยธรรมของมนุษย์ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากกฎหมายและศีลธรรมที่ยนหยัดอยู่เคียงข้างกันค้ำชู วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้เขย่าวัฒธรรมและความเจริญทางอารยธรรมไปยังรากฐานเนื่องจากการแบ่งแยกกฎหมายและศีลธรรมออกจากกัน รวมถึงการปฏิเสธแนวคิดของความจริงในการรวมมนุษย์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว การผูกพันให้เป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์นั้นมีความเปราะบางและไม่เข้มแข็งในกรณีที่ต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์โดยเฉพาะด้านวัตถุและกรณีที่ผลประโยชน์ส่วนตัวอาจชักนำให้มีการแตกแยกหรือปะทะกันเกิดขึ้น ความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มจะเกิดขึ้นต่อต้านกับการแบ่งแยกก็ต่อเมื่อมนุษย์มีคุณค่าร่วมกันในการมองและแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป้นการแบ่งปันทางคุณค่า ค่านิยม ความรักชาติ หรือความเชื่อศรัทธาทางศาสนา เป็นต้น
ดังนั้น จริยธรรมอ้างสิทธิในการวิจารณ์การจัดการทางกฎหมายและแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การโต้เถียงในประเด็นกฎหมาย บ่อยครั้งทีโต้เถียงในประเด็นทางศีลธรรมด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมกีบกฎหมายสรุปได้ดังนี้
(1) การมีอยู่ของกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่น กฎหมายทาส เป็นข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายกับศีลธรรมไม่ใช่สิ่งเดียวกันและไม่ได้เกิดจากสิ่งเดียวกัน
(2) การมีอยู่ของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคุณค่าพื้นฐาน เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษการฆาตกรรม การขโมย ข่มชืนหรือทำร้ายร่างกาย เป็นต้น เป้นสิ่งพิสูจน์ว่าทั้งกฎหมายและศีลธรรมสามารถทำงานร่วมกันได้
(3) กฎหมายสามารถกำหนดอะไรคือการกระทำผิดที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดและควรถูกลงโทษ แม้ว่ากฎหมายจะละเลยเจตนาของบุคคลหรือความคิดของบุคคลก็ตาม เพราะกฎหมายไม่สามารถจัดการได้ ในขณะที่ศีลธรรมจะตัดสินบุคคลบนเจตนาและคุรลักษณะซึ่งแตกต่างจากกฎหมาย
(4) กฎหมายควบคุมพฤติกรรมอย่างน้อยบางส่วนจากความกลัวถูกลงโทษ ศีลธรรมจะกลายเป็นนิสัยหรือลักษณะที่ควบคุมพฤติกรรมโดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง เพราะบุคคลต้องควบคุมตนเอง บุคคลที่มีศีลธรรมกระทำในสิ่งที่เหมาะสมเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะกระทำ
(5) ศีลธรรมสามารถมีอิทธิพลต่อกฎหมายในแง่ที่ว่าสามารถให้เหตุผลว่าทำไม่การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย
(6) กฎหมายสามารถแสดงออกทางศีลธรรมต่อสาธารณะได้โดยการทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักากรพื้นฐานของพฤติกรรมที่คนในสังคมทั่วไปให้การยอมรับ พร้อมทั้งเป้นแนวทางในการให้การศึกษาแก่คนรุ่นต่อไปให้ทราบคุณค่าทางสังคมที่ต้องการปลูกฝัง
วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560
หลักการสื่อสารมวลชน
ประการแรก วิชาชีพสื่อสารมวลชนมีพันธะหน้าที่ในการนำเสนอความจริง เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยต้องพึงพาและส่งเสริมให้ประชาชนมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในบริบทที่มีความหมาย วิชาชีพสื่อสารมวลชนไม้ได้ติดตามความจริงในแง่ของปรัชญา แต่สามารถและต้องติดตามความจริงในแง่ทางปฏิบัติ ความจริงของสื่อสารมวลชนคือกระบวนการที่เริ่มต้นด้วยวิทยาการของวิชาชีพของการรวบรวมและตรวจสอบข้อเท็จจริง นักสื่อสารมวลชนพยายามที่จะนำเสนอความหมายของข่าวที่น่าเชื่อถือและเป็นธรรมมีการตรวจสอบความถูกต้องให้ทันสมัยและต้องมีการตรวจสอบต่อเนื่องในอนาคตด้วย นักสื่อสารมวลชนควรมีความโปร่งใสเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับแหล่งข่าวและวิธีการเพื่อให้ผู้รับข่าวสารสามารถประเมินข้อมูลข่าวสาร ความถูกต้องเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดทุกสิ่งตั้งแต่เนื้อหา การตีความ ข้อเสนอแนะ การวิจารณ์ การวิเคราะห์ และการโต้แย้ง ความจริงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเกิดจากเวทีนี้ ประชาชนต้องเผชิญการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องการรู้แหล่งที่มาของแห่ลงข่าวว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารและบริบทแวดล้อมดังกล่าว
ประการที่สองความซื่อสัตย์ต่อประชาชน
ในขณะที่องค์กรข่าวตอบคำถามต่อประชาชน ผู้ถือหุ้นและโฆษณา
นักสื่อสารมวลชนในองค์กรต้องรักษาความรู้สึกซื่อสัตย์ต่อประชาชนและผลประโยชน์สาธารณะที่ยิ่งใหญ่กว่าหากมีการเผยแพร่ข่าวสารโดยปราศความกลัวและอคติ
พันธะหน้าที่ดังกล่าวต่อประชาชนเป็นพื้นฐานหลักของหน่วยงานหรือองค์กรข่าวที่มีเครดิตน่าเชื่อถือ
การนำเสนอที่บอกเล่าต่อผู้ชมว่าหัวข้อข่าวไม่ได้เข้าข้างเพื่อนหรือผู้โฆษณา พันธะดังกล่าวหมายความว่าผู้สื่อข่าวต้องนำเสนอภาพของความเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องในสังคม
การละเลยประชาชนบางกลุ่มมีผลให้เกิดการพรากสิทธิจากพวกเขาเหล่านั้น
ตามทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมข่าวสมัยใหม่คือความเชื่อว่าการสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้ชมที่ซื่อสัตย์และครอบคลุมกว้างขวาง
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะตามมา ในแง่ดังกล่าวบุคคลในทางธุรกิจในองค์กรข่าวต้องทะนุถนอมความซื่อสัตย์ต่อประชาชนไว้โดยไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ประการที่สาม ความสำคัญของการตรวจสอบความถูกต้อง
นักสื่อสารมวลชนเชื่อมั่นในวิทยาการวิชาชีพในการตรวจสอยความถูกต้องของข้อมูล
เมื่อแนวคิดของความเป็นกลางพัฒนาขึ้น
ไม่ได้สะท้อนว่านักสื่อสารมวลชนมีความอิสระจากอคติ
แต่มีการเรียกร้องวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลที่แม่นยำ เช่น
แนวทางที่โปร่งใสต่อหลักฐาน เพื่อมิให้ความอคติทางวัฒนธรรมและส่วนบุคคลทำลายความถูกต้องของงานดังกล่าว
วิธีการคือความเป็นกลางไม่ใช่นักข่าว การมองหาพยานหลายแหล่งหลายคน
การเปิดเผยแหล่งข่าวให้มากที่สุด หรือการสอบถามเพื่อหาความเห็นหลากหลายด้าน
ซึ่งทั้งหมดจะส่งสัญญาณมาตรฐาน
วิทยาการของการตรวจสอบความถูกต้องคือสิ่งที่แยกวิชาชีพสื่อสารมวลชนออกจากการสื่อสารแบบอื่น
เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ นวนิยาย หรือบังเทิง
แต่ความจำเป็นสำหรับวิธีการของวิชาชีพไม้ได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์
ในขณะที่นักสื่อสารมวลชนพัฒนาเทคนิคต่าง ๆในการพิจารณาข้อเท็จจริง เช่น
การพัฒนาระบบในการทดสอบความน่าเชื่อถือของการตีความของนักข่าว
ประการที่สี่ ผู้สื่อสารภาคสนามต้องรักษาความเป็นอิสระจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ความเป็นอิสระเป็นเงื่อนไขสำคัญของนักสื่อสารมวลชน หัวใจสำคัญของมันคือความเชื่อถือ ความเป็นอิสระทั้งจิตวิญญาณและหัวใจสำคัญกว่าความเป็นกลางที่นักสื่อสารมวลชนต้องยึดมั่นรักษาไว้ ในขณะที่บรรณาธิการและผู้ให้ความเห็นอาจไม่มีความเป็นกลาง แหล่งของความน่าเชื่อถือยังคงเป็นความถูกต้อง ความเป็นธรรมและความสามารถในการแจ้งข้อมูลไม่ใช่ให้ความสำคัญกับเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะผลลัพธ์ ความเป็นอิสระนั้นนักสื่อสารมวลชนต้องหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ในการหลีกห่างจากความยโส ชนชั้นนำ การแยกตัว และความลุ่มหลงตัวเอง
ประการที่ห้าต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างอิสระ
วิชาชีพสื่อสารมวลชนมีความสามารถแตกต่างในการทำหน้าที่เป็นคนเฝ้าระวังบุคคลที่มีอำนาจและมีตำแหน่งที่มีผลกระทบต่อประชาชน
อันเป็นรากฐานสำคัญของสื่ออิสระ ศาลได้ยืนยันหลักฐานดังกล่าว
และประชาชนก็มั่นใจและเชื่อใจ นักสื่อสารมวลชนมีพันธะหน้าที่ในการปกป้องเสรีภาพของผู้เฝ้าระวังโดยไม่บิดเบือนในการแสวงหาประโยชน์จากรายได้เชิงพาณิชย์
ประการที่หก ต้องมีเวทีสำหรับการวิจารณ์สาธารณะและการประนีประนอม สื่อใหม่เป็นช่องทางร่วมในการวิจารณ์สาธารณะและความรับผิดชอบได้ก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับสิทธิพิเศษ การถกเถียงทำหน้าที่รับใช้สังคมอย่างดีหากได้รับการแจ้งข้อเท็จจริงมากกว่าอคติและความคาดเดาหรือข่าวลือที่เลื่อนลอย ควรที่ส่งเสริมมุมมองและผลประโยชน์ที่แตกต่างหลากหลายในสังคม และจะบรรจุให้อยู่ในบริบทมากกว่าการให้ความสำคัญเพียงเพราะมีความขัดแย้งทางความคิดในการโต้แย้ง ความถูกต้องและความสัตย์จริงต้องการให้เกิดกรอบของการโต้เถียงที่เราต้องไม่ละเลยประเด็นของพื้นฐานร่วมเมื่อมีการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น
ประการที่เจ็ด
ต้องทำให้มีความน่าสนใจและเกี่ยวข้องมากขึ้น
นักสื่อสารมวลชนถือว่าเป็นนักเล่าเรื่องที่มีวัตถุประสงค์
ควรจะทำมากกว่าการรวบรวมให้ผู้อ่านหรือผู้ชมหรือการแบ่งความสำคัญเท่านั้น
นักสื่อสารมวลชนต้องสร้างสมดุลว่าอะไรที่ผู้อ่านหรือผู้ชมรู้อะไรที่ต้องการอะไรที่ไม่คาดหวังแต่มีความจำเป็นต้องรู้
ในระยะสั้นต้องกระตุ้นให้ผู้ชมมีความสนใจและเกี่ยวข้องด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
ความมีประสิทธิภาพของแต่ละวิชาชีพสื่อสารมวลชนอาจวัดได้ทั้งจำนวนงานที่เข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับผู้ชมและการให้ความกระจ่างแก่ผู้ชม
ซึ่งหมายความว่าผู้สื่อข่าวต้องถามว่าข้อมูลข่าวสารที่มีมูลค่ามากที่สุดต่อประชาชนคืออะไรและอยู่ในรูปของอะไร
ในขณะที่นักสื่อสารมวลชนควรเข้าถึงประเด็นรัฐบาลและความปลอดภัยสาธารณะ นักสื่อสารมวลชนจะถูกทับถมด้วยข้อมูลมหาศาลและข้อล่วงซึ่งสุดท้ายจะให้ข้อมูลเล็กน้อยแก่สังคม
ประการที่แปดต้องทำให้ข่าวมีความครอบคลุมและได้สัดส่วน การทำให้ข่าวได้สัดส่วนและไม่ละทิ้งสิ่งสำคัญไว้เป็นหัวใจของความเป็นจริง นักสื่อสารมวลชนในรูปของนักวาดการ์ตูนจะสร้างแผนที่สำหรับประชาชนในการพิจารณาและท่องไปในสังคม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำนวนมากอาจมีทั้งสะเทือนอารมณ์ ธรรมดาทั่วไป ละทิ้งเหตุการณ์ หรือไม่ได้สัดส่วนในทางลบ ซึ่งจะทำให้เกิดแผนที่ที่น่าเชื่อถือน้อยลง แผนที่ดังกล่าวควรรวมข่าวสารของชุมชนไม่เพียงแต่พื้นที่ที่น่าสนใจเท่านั้น ในการบรรลุเป้าหมายในห้องข่าวด้วยความหลากหลายของความคิดเห็นและมุมมอง แผนที่อาจเป็นเพียงการเปรียบเทียบ ความได้สัดส่วนและความครอบคลุมเป็นหัวข้อสำคัญ แต่การหลบหนีไม่ได้ลดความสำคัญลง
ประการที่เก้า
นักสื่อสารมวลชนในภาคปฏิบัติต้องถูกยอมให้มีการจิตสำนึกส่วนตัว
กล่าวคือนักสื่อสารมวลชนทุกคนต้องมีความรู้สึกจริยธรรมและความรับผิดชอบส่วนบุคคล
หรือเข็มทิศศีลธรรม แต่ละคนมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสียงที่แตกต่างจากพรรคพวกทั้งในห้องข่าว
และกับผู้บริหาร หากมีความจำเป็นต้องมีความเป็นธรรมและความถูกต้อง
หน่วยงานข่าวทำได้ดีในการรักษาความเป็นอิสระโดยการส่งเสริมให้แต่ละคนพูดตามที่ตัวเองคิด
ซึ่งจะกระตุ้นความหลากหลายทางปัญญาที่จำเป็นต้องการเข้าใจและครอบคลุมในสังคมที่หลากหลายเพิ่มขึ้นได้อย่างถูกต้อง
ในความหลากหลายทางความคิดและทางเลือกไม่ใช่แค่การเป็นสมาชิกแต่เป็นหัวใจ
ทิศทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการทีวีดาวเทียมในยุโรปหลังคดี UPC
ในสหภาพยุโรป ปัจจุบันกรอบการกำกับดูแลเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ (electronic content) ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทประกอบด้วย เนื้อหารายการ และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในทางทฤษฎี การออกแบบนโยบายการกำกับดูแลเน้นการกำกับดูแลช่องทางการให้บริการมากกว่าการกำกับดูแลประเภทของเนื้อหาที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอยู่กำกับดูแลตามแนวทางอิงตลาดของข้อบังคับสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic communications package) แต่การกำกับดูแลเนื้อหารายการอยู่ภายใต้มาตรฐานขั้นต่ำเฉพาะที่ถูกกำกับดูแลตามประเทศถิ่นตามข้อบังคับบริการสื่อวิดีทัศน์ (Audiovisual media service directive หรือ AVMSD) และข้อบังคับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce directive)
บริษัท UPC เป็นผู้ประกอบการค้าปลีกเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งให้บริการกระจายเสียงวิทยุและบริการโทรทัศน์เป็นชุดที่ส่งผ่านดาวเทียมและอยู่ภายใต้เทคโนโลยีการเข้าถึงอย่างมีเงื่อนไข เช่น ข้อกำหนดให้จ่ายอัตราค่าธรรมเนียมสมาชิก ตามโครงสร้างของบริษัท ผู้บริโภคในฮังการีที่ได้รับบริการจากบริษัทลูกของ UPC ที่ตั้งอยู่ในลักเซ็มเบอร์ส หน่วยงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารของฮังการี (Hungarian communications regulator หรือ NMHH) ขอให้บริษัท UPC จัดส่งข้อมูล แต่บริษัท UPC ปฏิเสธโดยอ้างว่าหน่วยงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารของฮังการีไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลทั้งในแง่ของสาระของบริการและกรอบการกำกับดูแล ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลของลักเซ็มเบอร์สควรกำกับดูแล หากหน่วยงานกำกับดูแลลักเซ็มเบอร์สระบุว่ามีอำนาจในการกำกับดูแล หน่วยงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารของฮังการีจึงออกคำสั่งปรับบริษัท UPC ในกรณีขัดขืนคำสั่ง บริษัท UPC จึงอุทธรณ์ต่อศาลฮังการี คำถามแบ่งออกเป็นสองประเภท ตามขอบเขตของข้อบังคับสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ด้านโทรคมนาคมและความสัมพันธ์กับสนธิสัญญาว่าด้วยเคลื่อนย้ายบริการเสรี ประเด็นคำถามจึงมีดังนี้
(1) มาตรา 2(c) ของกรอบการกำกับดูแลอาจถูกตีความว่าบริการที่ผู้ประกอบการให้บริการเพื่อค่าตอบแทนให้เข้าถึงอย่างมีเงื่อนไขสำหรับชุดของเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์และส่งโดยดาวเทียมถูกจัดประเภทเป็นบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ?
(2) สนธิสัญญาว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของสหภาพยุโรป (Treaty on the Functioning of the European Union) อาจถูกตีความว่าหลักการเคลื่อนย้ายบริการเสรีใช้บังคับกับบริการที่ระบุไว้ตามคำถามแรกในกรณีบริการให้บริการจากลักเซ็มเบอร์สไปยังฮังการี ?
(3) สนธิสัญญาว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของสหภาพยุโรป (Treaty on the Functioning of the European Union) อาจถูกตีความว่าในกรณีบริการที่ระบุไว้ในคำถามแรกประเทศปลายทางของการให้บริการต่อบริการที่จัดส่งมีสิทธิจำกัดการให้บริการของประเภทบริการดังกล่าวโดยการกำหนดให้การให้บริการต้อวจดทะเบียนในประเทศสมาชิกและมีการจัดตั้งสาขาหรือหน่วยงานทางกฎหมายบแยกออกมาและอนุญาตประเภทของบริการต้องให้บริการผ่านการจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือหน่วยงานทางกฎหมายที่แยกออกมาเท่านั้น ?
(4) สนธิสัญญาว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของสหภาพยุโรป (Treaty on the Functioning of the European Union) อาจถูกตีความว่ากระบวนการทางปกครองเกี่ยวกับบริการที่ระบุไว้ตามคำถามแรกโดยไม่คำนึงว่าประเทศสมาชิกที่หน่วยงานให้บริการว่าบริการที่ให้บริการหรือจดทะเบียนจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิกที่มีขอบเขตอำนาจตามสถานที่ที่บริการให้บริการ ?
(5) มาตรา 2(c) ของกรอบการกำกับดูแลอาจถูกตีความว่าบริการที่ระบุในคำถามแรกต้องถูกจัดประเภทเป็นบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือบริการดังกล่าวต้องเป็นบริการเข้าถึงอย่างมีเงื่อนไขที่ให้บริการผ่านระบบการเข้าถึงอย่างมีเงื่อนไขในมาตรา 2(f) ของข้อบังคับกรอบการกำกับดูแล ?
(6) ตามคำถามทั้งหมด บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องอาจถูกตีความว่าผู้ให้บริการที่ระบุในคำถามแรกต้องถูกจัดประเภทเป็นผู้ให้บริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายประชาคมยุโรป ?
กฎหมายของสหภาพยุโรป
แม้ว่าจากมุมมองของผู้บริโภค บริษัท UPC จะคล้ายกับเป็นผู้ประกอบกิจการแพร่ภาพกระจายเสียง แต่บริษัท UPC ไม่ได้มีความรับผิดชอบในการเป็นบรรณาธิการพิจารณาเนื้อหารายการ ดังนั้น จึงไม่ถูกกำกับดูแลตามข้อกำหนด AVMSD ในการพิจารณาของศาลที่อิงคำพิพากษาในคดี C-518/11 UPC Netherland คำจำกัดความของบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ FD ประกอบด้วยบริการที่ให้บริการทั่วไปเพื่อค่าตอบแทนที่ประกอบด้วยบางส่วนหรือทั้งหมดในการส่งสัญญาณบนโครงข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งบริการส่งสัญญาในโครงข่ายที่ใช้เพื่อการแพร่ภาพกระจายเสียงหรือการใช้อำนาจควบคุมของบรรณาธิการ เนื้อหาที่ส่งผ่านโครงข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
คำพิพากษาในบางตอนไม่ชัดเจน เช่น วรรคที่ 36-39 ที่ระบุคำว่าไม่รวมถึงเพ็กเก็ตสื่อสาร (communications package) ซึ่งมีคำถามว่าเนื้อหาอื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวสามารถใช้กับผู้ค่าปลีกเนื้อหาที่อิงกับลักษณะของบริการที่ให้หรือไม่ หาก UPC ต้องรับผิดชอบสำหรับเนื้อหาตาม AVMSD ซึ่งเป็นไปได้จะอยู่ภายใต้กฎของหน่วยงานลักเซมเบอร์ เพราะข้อกำหนดดังกล่าวอ้างถึงเขตอำนาจของประเทศต้นทางที่แพร่ภาพกระจายเสียง (broadcaster’s country of origin)
แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นการแพร่ภาพกระจายเสียง คำถามยังคงมีอยู่ว่าบริษัท UPC ตกอยู่ภายใต้นิยามของเพ็กเก็ตการสื่อสารหรือไม่ ซึ่งคำถามดังกล่าวหันกลับไปสู่นิยามของคำว่าบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic communications service) ตามมาตรา 2(c)FD อย่างไรก็ตามประเด็นตามข้อเท็จจริงคือบริษัท UPC ไม่ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกหรือโครงข่ายในการส่งเป็นของตนเอง แต่ได้ว่าจ้างบริษัทที่สามในกรณีของบริการดาวเทียม ศาลให้เหตุผลประกันว่าประสิทธิภาพของระบบที่ใช้โครงข่ายของบุคคลที่สามไม่เกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภทของบริการ การกำหนดเกณฑ์ของบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์คือไม่ว่าผู้ให้บริการจะรับผิดชอบกับผู้รับบริการสุดท้ายสำหรับการส่งสัญญาณในการให้บริการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวหรือไม่
มีการเสนอแนะว่าหากบริการคือระบบการเข้าถึงอย่างมีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามมาตรา 2(f) FD บทบัญญัติดังกล่าวที่เกี่ยวกับบริหารสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อาจไม่ใช้บังคับ ทั้งอัยการสูงสุดและศาลปฏิเสธข้อเสนอแนะดังกล่าวว่าระบบการเข้าถึงอย่างมีเงื่อนไขอาจติดไปกับบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการกระจายเสียงหรือบริการโทรทัศน์โดยบริการไม่สูญเสียสถานะภาพของบริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น เพ็กเก็ตการสื่อสารใช้บังคับได้ แต่ยังคงมีประเด็นว่าหน่วยงานกำกับดูแลฮังการีสามารถกำกับดูแลมากน้อยเพียงใด FD ไม่มีคุณสมบัติของเขตอำนาจในกรณีดังกล่าวเช่นเดียวกับ AVMSD มี ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปต้องเผชิญกับประเด็นอำนาจของหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิกในเรื่องอำนาจการอนุญาต ข้อกำหนดการอนุญาตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเพ็กเก็ตการสื่อสารและเกี่ยวข้องกับการจัดให้มีการออกใบอนุญาตและรูปแบบอื่นของการอนุญาตไม่ได้ผูกพันประเทศสมาชิกที่อาณาเขตนั้นให้บริการรับรู้การตัดสินใจอนุญาตที่ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกจากประเทศที่รับบริการ การอ้างคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแลลักเซมเบอร์ที่กำหนดความสามารถที่ถูกกำกับดูแลเกี่ยวกับ UPC ดังนั้น ประเทศสมาชิกที่มีอาณาเขตของผู้รับบริการอาจกำหนดเงื่อนไขในการให้บริการได้ตามที่ได้รับการอนุญาตตามเพ็กเก็ตการสื่อสาร ตามมาตรา 11b ข้อกำหนดการอนุญาตมีบทบัญญัติที่มีผลที่หน่วยงานอาจเรียกร้องจากข้อมูลหน่วยธุรกิจที่ได้สัดส่วนและมีเหตุผลอย่างเป็นกลางสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยกวับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสรุปการให้บริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อาจได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิกที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่
หลักการเคลื่อนย้ายบริการเสรี
ศาลฮังการีถามว่ามาตรา 56 ของสนธิสัญญาอำนาจหน้าที่ของสหภาพยุโรป (TFEU) ยกเว้นกฎที่กำหนดให้หน่วยงานที่ให้บริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในเขตแดนของประเทศสมาชิกต้องจดทะเบียนบริการหรือกฎกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานสาขาในประเทศสมาชิกหรือนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัททีร่ตั้งอยู่ในประเทศสมาชิกที่ส่งสัญญาณ หากมีการสร้างความเป็นเอกภาพในการกำกับดูแลผ่านข้อกำหนด กฎทั้งหลายที่เกี่ยวกับการจดทะเบียน หรือมีถิ่นที่อยู่ที่ได้รับอนุญาตจากประเทศสมาชิก ข้อกำหนดสื่อสารมองความเป็นไปได้ของการกำกับดูแของประเทศและที่ถูกระบุไว้ในข้อกำหนดกรอบการกำกับดูแลในมาตรา 1(3) และบทบัญญัติที่อนุญาตให้หน่วยงานกำกับดูแลมีดุลพินิจในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค ซึ่งหมายความว่าไม่ได้มีเอกภาพอย่างสมบูรณ์ที่เดียว กฎของประเทศสมาชิกจะถูกประเมินผลโดยอ้างอิงกับเสรีภาพของสนธิสัญญา ดูตัวอย่างได้จากคดี Case C‑17/00 De Coster; Case C‑250/06United Pan-Europe Communications Belgium and Others).
กฎทั่วไปที่กำกับเสรีภาพในการให้บริการที่ถูกจัดสรรความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อประเทศสมาชิกที่มีการจัดตั้ง และกฎหมายลำดับรองอาจมีผลต่อกฎกำกับดูแลของประเทศเจ้าบ้าน จึงมีแนวโน้มในการใช้ในทางที่มิชอบและเป็นต้นกระแสของคดีพิพาทในปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีที่บริษัทจัดตั้งในประเทศสมาชิกที่มีระบบเอื้อและสนับสนุนให้การแพร่ภาพกระจายเสียงกลับไปยังประเทศเฉพาะ ศาลยากที่จะยอมรับว่ามีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือบริษัทที่จัดตั้งจริงในประเทศปลายทาง ข้อโต้แย้งดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จแม้ว่าบริษัทไม่ได้ให้บริการภายในลักเซมเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวมาตรฐานของศาล
เงื่อนไขตามประกาศดังกล่าว ในมาตรา 3 ของข้อกำหนดการอนุญาตบรรจุกรอบกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขที่หน่วยงานกำกับดูแลอาจกำหนดกฎระเบียบเพื่ออนุญาตให้หน่วยธุรกิจที่จัดตั้งในประเทศสมาชิกอื่นให้บริการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในอาณาเขตประเทศสมาชิกเจ้าบ้าน หากประเทศเจ้าบ้านดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 3 เงื่อนไขในประกาศไม่ถูกกีดกันออกไป แต่หากมาตรา 3 สร้างความสอดคล้องในแง่ดังกล่าว เงื่อนไขที่นอกเหนือจากมมาตรา 3 ไม่สอดคล้องกับกฎหมายสหภาพยุโรป จึงไม่ถือว่าเป็นเสรีภาพสนธิสัญญา ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลฮังการีอาจกำหนดเงื่อนไขตามประกาศได้
มีข้อสังเกตุว่าการบังคับใช้เสรีภาพตามสนธิสัญญาอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เช่นในคดี Canal Satellite Digital (Case C-390/99) ศาลตีความว่าข้อจำกัดของผู้ให้บริการในระบบการเข้าถึงอย่างจำกัด ต้องลงทะเบียนก่อนให้บริการเพื่อหน่วยงานของสเปนจะตรวจสอบความสามารถในทางเทคนิคเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการที่จัดตั้งในประเทศสมาชิกอื่นอาจไม่ได้สัดส่วนหากมีการตรวจสอบซ้ำในประเทศต้นทาง
ในท้ายที่สุดศาลตัดสินว่าข้อจำกัดสำหรับการจัดตั้งที่ไม่ได้ระบุไว่เฉพาะโดยเพ็กเก็ตการสื่อสารอยู่ภายใต้การประเมินที่อ้างถึงเสรีภาพตามสนธิสัญญา ในขณะที่กำหนดให้การจัดตั้งอาจนำไปสู่การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของเงื่อนไขของหน่วยงานกำกับดูแล เช่น การตรวจสอบที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ่นไม่สมเหตุสมผล ในบางกรณี ข้อกำหนดการจัดตั้งเป็ยผลกระทบทางลบต่อเสรีภาพในการให้บริการและส่งผลให้เกิดการจำกัดสิทธิตามมาตรา 56 ของ TFEU ของความมีประสิทธิผลทั้งหมดและไม่สามารถอนุญาตได้ตามสนธิสัญญา
คำพิพากษาในคดีนี้แสดงถึงความสำคัญและความซับซ้อนของการพิจารณาว่าสาขาเฉพาะของกฎหมายที่ควรสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันในสหภาพยุโรป และดังนั้น เนื้อหาในควรถูกกำกะบดูแลตามเสรีภาพของสนธิสัญญ และความสำคัญของการพิจารณาระบบกฎหมายระดับรองเฉพาะที่ใช้บังคับ จึงมีความน่าสนใจว่าสหภาพยุโรปใช้แนวทางประนีประนอมในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมโดยอิงหลักการแข่งขันเป็นสำคัญ มีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างประโยชน์สาธารณะและการใช้ประโยชน์ดังกล่าว กระบวนการยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเพ็กเก็ตการสื่อสารยอมให้มีพื้นที่สำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค และให้อำนาจในการกำกับดูแลมากขึ้นกับประเทศปลายทางที่รับชมมากกว่าเสรีภาพตามสนธิสัญญหรือกฎหมายบริการแพร่ภาพกระจายเสียงที่มีอยู่ในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)